Pages

วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Package ของ SolidWorks กับ Simulation แตกต่างกันอย่างไร

Package ของโปรแกรม SolidWorks มีไว้เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกซื้อเฉพาะฟังชั่นที่ต้วเองต้องการได้  ทำได้ซื้อโปรแกรมได้ในราคาที่ถูกกว่าการซื้อฟังชั่นเต็มทั้งหมด  เปรียบเหมือนกับเวลารถยนต์ก็จะมีตัว Top หรือตัวรองลงมาให้เราเลือกซื้อได้  ส่วน Simulation ก็เป็นฟังชั่นเสริมที่เอามาเพิ่มความสามารถให้กับ Solidworks เปรียบเหมือนเราต้องการเพิ่มระบบ GPS ในรถยนต์ในช่วยนำทางเราได้  ดังนั้นเราจำเป็นต้องมีรถยนต์ก่อนถึงจะต่อ GPS เพิ่มได้  เช่นเดียวกับ Simulation ต้องมี SolidWorks ก่อนจึงจะเอามาใช้งานได้

ฟังชั่น Simulation เองก็มีหลาย Package เช่นเดียวกับ SolidWorks  แถมยังชื่อเหมือนกันอีก  ทำให้หลายๆคนที่ได้ฟังครั้งแรกอาจจะงงกันอยู่บ้าง  ลองดูในรูปด้านล่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นนะครับ
ในการเลือกใช้งานเราสามารถเลือก Package ที่มีฟังชั่นที่เราต้องการทั้งใน SolidWorks และ Simulation มาจับคู่กันได้เลย(จะใช้ Simulation Package ใดก็ได้มาจับคู่กับ SolidWorks)
ตัวอย่างเช่น
- SolidWorks Standard + Simulation Standard  จะสามารถเขียน CAD โมเดลได้และสามารถวิเคราะห์งาน Static, Motion, Fatigue
- SolidWorks Premium + Simulation Premium  จะมีความสามารถในการเขียนโมเดลและฟังชั่นเสริมของ SolidWorks Premium บวกกับความสามารถในการวิเคราะห์ของ Simulation Premium ทั้งหมด

ถ้าเราสังเกตุในภาพจะเห็นว่า SolidWorks Premium เองก็มีฟังชั่นของ Simulation บางส่วนอยู่ด้วย ได้แก่ Static และ Motion  ดังนั้นถ้าใครต้องการวิเคราะห์ความแข็งแรงของโลหะเท่านั้น  ก็สามารถเลือกใช้แค่ SolidWorks Premium โดยที่ไม่ต้องซื้อฟังชั่น Simulation มาเสริม  แต่ถ้าหากต้องการวิเคราะห์งานอย่างอื่นๆอีก เช่น ความร้อน  อายุการใช้งาน  การสั่นสะเทือน ฯลฯ ก็สามารถเลือกใช้ Package ของ Simulation ที่ครอบคลุมงานที่ตัวเองต้องการได้เลย

ทีนี้เราก็พอจะทราบแล้วนะครับว่า Package ต่างๆเป็นอย่างไรบ้าง  ก็เลือกใช้ตามที่ตัวเองจำเป็นได้เลยครับ

วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การวิเคราะห์อายุการใช้งาน (Fatigue Analysis) Part 2

หลังจากที่เรามีความรู้ในการวิเคราะห์ Fatigue กันแล้ว  เราลองมาดูกันว่า  และเราจะต้องมีการเตรียมข้อมูลอะไรบ้างเพื่อวิเคราะห์ความล้าในโปรแกรม SolidWorks Simulation

ขั้นตอนสำหรับการวิเคราะห์ Fatigue
1. กำหนดค่าการวิเคราะห์ในฟังชั่น Static  ในขั้นตอนนี้ทำเหมือนการวิเคราะห์ Static ปกติ ได้แก่
     - กำหนดค่าวัสดุ
     - กำหนด Contact (สำหรับวิเคราะห์งาน Assembly  ถ้าวิเคราะห์ Part ให้ข้ามขั้นตอนนี้ได้เลย)
     - กำหนด Fixture
     - กำหนด Load
     - สร้าง Mesh
     - Run เพื่อหาผลลัพธ์
    สำหรับขั้นตอนข้างต้น  ถ้าหากใครยังไม่เคยใช้งาน SolidWorks Simulation ให้ศึกษาจากวีดีโอนี้ดูนะครับ  คลิกที่นี่

2. หา Loading Ratio  เนื่องจากความเสียหายจาก Fatigue เกิดจากแรงกระทำซ้ำๆ  ซึ่งขนาดของแรงจะมีขึ้นมีลง  ในการบอกโปรแกรมว่าแรงกระทำมีการกดหรือการดึงอย่างไรบ้าง  จะบอกโดยใส่ค่า Loading Ratio ซึ่งมีวิธีการหาดังนี้
Loading Ratio =  Load min/Load max
EX1 ถังความดันต้องรับแรงดันที่อัดเข้ามา 30 MPa  และมีการดูดอากาศจนแรงดันติดลบ(เป็นสุญญากาศ) 0.3 MPa  แสดงว่า Loading Ratio = -0.3/30 = -0.01

EX2 เครนยกน้ำหนัก 50 ตัน  และวางของลงทำให้เครนไม่ต้องรับแรงอะไรเลย  แสดงว่า Loading Ration = 0/50 = 0
   
3.เข้าการวิเคราะห์ Fatigue

4. กำหนดจำนวนครั้งที่ชิ้นงานโดนแรงกระทำ  ใส่ค่า Loading Ratio  และเลือก Study Static ที่เราทำเอาไว้ในขั้นตอนที่ 1

5. ใส่ค่า SN-Curve (ถ้าไม่มีค่าจากการทดลอง  ก็ใช้วิธีตามบทความนี้นะครับ)

6. Run ดูผลลัพธ์กันเลย  ผลลัพธ์ที่ดูได้หลักๆ จะมี 2 ตัวคือ
     - Damage Percentage  คือผลลัพธ์ที่แสดงว่าชิ้นงานเสียหายไปเท่าไรเมื่อทำไปใช้งานตามจำนวนครั้งที่เรากำหนดในข้อ 4  ถ้าหากเกิน 100% แสดงว่าชิ้นงานใช้งานได้ไม่ถึงจำนวนครั้งที่กำหนด

     - Total Life คือผลลัพธ์แสดงจำนวนครั้งที่ชิ้นงานสามารถรับแรงได้