Pages

วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561

การแสดงภาพชิ้นงานที่ไม่ได้วิเคราะห์ (Exclude from Analysis)

ในการวิเคราะห์งาน Simulation สิ่งที่เราพยายามทำเป็นอันดับแรกคือลดชิ้นงานที่ไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์ออก  เพราะจะทำให้ลดจำนวนก้อน Mesh ที่ต้องวิเคราะห์ลงและทำให้คำนวณผลลัพธ์ได้เร็วขึ้น  แต่ก็ีหลายๆครั้งที่พอทำเช่นนี้แล้ว  เวลานำผลลัพธ์ไปนำเสนอกลับทำให้ผู้รับฟังไม่ค่อยเข้าใจว่าชิ้นงานนี้คือชิ้นงานอะไร,  อยู่ตรงส่วนไหนของงานประกอบ,  แล้วทำไมเราถึงต้องใส่แรงหรือใส่จุดจับยึดแบบนั้น เป็นต้น  ดังนั้นในบทความนี้จะพูดถึงเทคนิกการแสดงชิ้นงานที่ไม่ได้วิเคราะห์พร้อมๆกับแสดงเฉดสีบนชิ้นงานที่วิเคราะห์ไปพร้อมกัน

วิธีแสดงชิ้นงานที่ไม่ได้วิเคราะห์พร้อมผลลัพธ์ Simulation มี 2 วิธี

1. วิธี Show Exclude Body

           ปกติแล้วชิ้นงานที่เลือก Exclude from Analysis จะถูกซ่อนในหน้าต่าง Simulation แต่เมื่อกลับไปที่หน้าต่างเขียน CAD ชิ้นงานที่ถูกซ่อนจะกลับมาเหมือนเดิม  ดังนั้นการจะให้ชิ้นงานที่ถูก Exclude แสดงออกมาจะต้องกำหนดค่าดังต่อไปนี้
- ไปที่เมนู Simulation >> Options
- เอาติ๊กถูกออกที่ Hide excluded bodies and show study material appearances >> เลือก OK  การทำขั้นตอนนี้จะทำให้ชิ้นงานที่เลือก Exclude body ออกไปยังแสดงภาพของชิ้นงานในหน้าต่าง Simulation อยู่
- จากนั้นไปคลิกขวาที่ผลลัพธ์ที่ต้องการแสดงชิ้นงานที่ Exclude ออกไป เช่น คลิกขวาที่ Stress >> เลือก Setting
- ติ๊กถูกที่ Show excluded bodies จะทำให้ชิ้นงานที่ไม่ได้วิเคราะห์ถูกแสดงขึ้นมา  นอกจากนี้เราสามารถเลือกสีของชิ้นงานที่ Exclude ออกไป  และปรับความโปร่งใสของชิ้นงานได้

2. วิธีแสดง Simulation Display (ใช้ได้ใน SolidWorks Simulation 2017 ขึ้นไป)

          ใน SolidWorks เวอร์ชั่น 2017 ได้เพิ่มฟังชั่นใหม่ที่สามารถแสดงสีของงานวิเคราะห์ในหน้าต่างของการเขียน CAD ได้  ทำให้เราสามารถแสดงผลลัพธ์ของ Simulation พร้อมกับแสดง RealView,  Shadow, Ambient  ฯลฯ ได้  ซึ่งทำให้เราสามารถทำภาพเสมือนจริงคู่กับภาพของ Simulation เพื่อใช้ในการนำเสนอหรือการทำการตลาดได้  สำหรับวิธีใช้งานสามารถทำได้ดังต่อไปนี้
- ในแถบเครื่องมือด้านบน Graphic View เลือก View Setting >> เลือก Simulation Display
- เราสามารถเลือกผลลัพธ์ที่ต้องการแสดง  และเลือกปรับค่าการสะท้อนแสงหรือค่าความสว่างได้

          ด้วยเทคนิคข้างต้นจะทำให้การนำเสนอผลลัพธ์เข้าใจได้ง่ายและมีรูปที่สวยมากขึ้น

รับปรึกษา  สอน  วิเคราะห์งานด้วยโปรแกรม SolidWorks Simulation
คุณพลวัฒน์ (บอล)
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : Simulation Adviser

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2561

การเปลี่ยนตัวเลขบนแถบสีใน SolidWorks Simulation

การแสดงผลลัพธ์ของ SolidWorks Simulation จะเป็นสีบนชิ้นงานและแถบสีเพื่อบอกว่าสีอะไรมีค่าเท่าไรบ้าง  ซึ่งค่าเริ่มต้นของโปรแกรมเวลาแสดงแถบสีจะมีตัวเลขกำกับ  โปรแกรมจะแสดงตัวเลขในรูปแบบเลขคุณ 10 ยกกำลัง  ยกตัวอย่างเช่น เลข 200 จะแสดงเป็น 2e+002  ซึ่งตัว e หมายถึงคุณสิบยกกำลัง  และ+002 คือ เลขยกกำลัง 2

สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มใช้งานอาจจะอ่านเลขแบบนี้แล้วไม่เข้าใจ  หรือถึงแม้เราจะอ่านเข้าใจแล้ว  แต่เวลาส่งผลลัพธ์ให้คนอื่นอ่าน  ผู้รับก็อาจจะไม่เข้าใจเช่นกัน  ดังนั้นในบทความนี้จะอธิบายถึงรูปแบบการแสดงตัวเลขแบบต่างๆ และวิธีการเปลี่ยนรูปแบบของตัวเลขที่กำกับบนแถบสี

รูปแบบการแสดงตัวเลขบนแถบสี  มีทั้งหมด 3 แบบคือ
  1. Scientific คือ การแสดงผลในรูปแบบคูณสิบยกกำลัง  เป็นค่าเริ่มต้นที่โปรแกรมจะใช้ในการแสดงผลลัพธ์
  2. Floating คือ การแสดงผลในรูปแบบจำนวนเต็ม  โดยสามารถกำหนดจำนวนทศนิยมได้
  3. General คือ การแสดงผลในรูปแบบจำนวนเต็ม  โดยสามารถกำหนดจำนวนตัวเลขในการแสดงผลได้ 
วิธีการเปลี่ยนหน่วยและการแสดงผล  แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
1. เปลี่ยนแปลงตัวเลขเฉพาะแถบสีที่ต้องการ
เนื่องจากผลลัพธ์ของ Simulation มีหลายค่า  ถ้าเราต้องการแสดงผลลัพธ์ Stress แบบ Floating และต้องการแสดงผลลัพธ์ Displacement แบบ Scientific ก็สามารถทำได้โดย
      - คลิกขวาที่ผลลัพธ์ที่ต้องการปรับเปลี่ยนวิธีแสดงตัวเลข >> เลือก Chart Option
      - เลือกรูปแบบการแสดงตัวเลขที่ต้องการ
      - เลือก OK

2. เปลี่ยนหน่วยแบบถาวร 
เมื่อเปลี่ยนหน่วยด้วยวิธีนี้จะทำให้เวลาสร้าง Study ใหม่  หรือเลือกแสดงผลลัพธ์ใหม่  โปรแกรมจะใช้รูปแบบการแสดงตัวเลขที่เลือกไว้เป็นค่าเริ่มต้น  สามารถตั้งค่าได้โดย
     - ในเมนู Simulation >> เลือก Option
     - เลือกแถบ Default Options >> เลือกหัวข้อ Chart Option

สำหรับคนที่สนใจศึกษาวิธีการใช้โปรแกรม SolidWorks Simulation ตั้งแต่พื้นฐานจนถึงระดับสูงสามารถซื้อแผ่นสอน SolidWorks Simulation ไปเรียนรู้ด้วยตัวเองได้  ซึ่งแผ่นสอนที่ทาง Simulation Advise จัดจำหน่ายมีอยู่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเรื่องที่สนใจได้

รับปรึกษา  สอน  วิเคราะห์งานด้วยโปรแกรม SolidWorks Simulation
คุณพลวัฒน์ (บอล)
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : Simulation Adviser

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561

การวิเคราะห์งานแบบ Dynamic

การวิเคราะห์ชิ้นงานส่วนใหญ่ที่ทำกันจะเป็นการวิเคราะห์แบบ Static ซึ่งหมายถึงการหาผลลัพธ์สุดท้ายหลังจากที่ชิ้นงานทุกชิ้นอยู่ในสภาวะคงที่แล้ว  ซึ่งผลลัพธ์จะมีเพียงคำตอบเดียวเท่านั้น  แต่การวิเคราะห์แบบ Dynamic คือการวิเคราะห์หาผลลัพธ์ในสภาวะไม่คงที่  ซึ่งผลลัพธ์จะมีหลายคำตอบขึ้นอยู่กับว่าดูผลลัพธ์ในช่วงเวลาไหนอยู่
ยกตัวอย่างเช่น มีก้อนน้ำหนักตกลงมาบนคานเหล็ก  ทำให้คานเหล็กโยกขึ้นลงจากแรงกระแทกของก้อนน้ำหนัก  การวิเคราะห์หาระยะที่คานโยกไปมาหรือระยะเวลาที่คานจะหยุดสั่นคือการวิเคราะห์แบบ Dynamic  แต่เมื่อคานโยกไปซักพักหนึ่งก็จะหยุดสั่นและคานก็จะงออยู่นิ่งๆ  การวิเคราะห์หาระยะที่คานงอตอนอยู่นิ่งๆคือการวิเคราะห์แบบ Static
ในโปรแกรม SolidWorks Simulation สามารถวิเคราะห์ได้ทั้ง 2 แบบ  โดยที่การกำหนดค่าเองก็สามารถ Copy ข้ามระหว่าง Study ได้  สำหรับวิธีการใช้งานฟังชั่น Dynamic สามารถศึกษาได้จากวีดีโอต่อไปนี้