วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การวิเคราะห์ฝุ่นผงที่ลอยในอากาศ (Particle Study)

ฟังชั่นหนึ่งในโปรแกรม Flow Simulation ที่ช่วยให้เราสามารถทิศทางที่ฝุ่นผง  อนุภาค  หรืออะไรก็ตามที่มีขนาดเล็กและลอยไปตามของไหลคือฟังชั่นที่ชื่อว่า Particle Study โดยมีวิธีใช้งานดังต่อไปนี้
1. วิเคราะห์ Flow ให้เสร็จเรียบร้อยก่อน
2. ในหัวข้อ Result >> คลิกขวาที่ Particle Study >> เลือก Wizard
3. โปรแกรมจะให้เราตั้งชื่อ Project (วิธีการคล้ายกับสิ่งที่เราต้องทำเมื่อเริ่มวิเคราะห์ Flow Simulation) >> เสร็จแล้วคลิก Next
4. เลือกผิวที่จะปล่อยให้อนุภาคไหลเข้ามา >> กำหนดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาค >> กำหนดชนิดอนุภาค >> กำหนดอัตราการไหลของอนุภาคที่เข้ามา >> เสร็จแล้วคลิก Next
5. เลือกการวิเคราะห์เกี่ยวกับตัว Particle ที่ต้องการเพิ่มเติม >> เสร็จแล้วคลิก Next
6. กำหนดการสะท้อนของ Particle กับผนัง >> เสร็จแล้วคลิก Next
7. เลือก Next >> แล้วเลือก Run เพื่อเริ่มวิเคราะห์
8. เมื่อ Run เสร็จแล้ว  เราสามารถแสดงลักษณะการไหลของ Particle ได้ดังรูป



สรุปความสามารถของฟังชั่น
- โปรแกรมจะคำนวณว่าน้ำหนักของอนุภาคนั้นจะลอยไปตามกระแสของไหลทิศทางใดบ้าง  โดยเปรียบเทียบระหว่างความเร็วของของไหลกับน้ำหนัก (เราจะเห็นว่าอนุภาคจะลอยหรือตกลงมาตามแรงโน้มถ่วงกันแน่)
- กำหนดลักษณะการชนกับผนังได้ว่าจะมีการสะท้อนหรือเกาะติดกับผนัง
- กำหนดขนาดและวัสดุของเม็ดอนุภาคได้ (ทำให้โปรแกรมรู้น้ำหนักของเม็ดอนุภาคโดยกำหนดเส้นผ่านศูนย์กลาง)
- ศึกษาการอัตราการสึกกร่อนของชิ้นงานที่เกิดจากอนุภาคได้

ข้อจำกัด
- ไม่สามารถดูการแตกตัวของเม็ดอนุภาคได้ (เช่น จากเม็ดใหญ่พอชนผนังแล้วจะกลายเป็นเม็ดเล็ก)
- ไม่สามารถแสดงการตกตะกอนสะสมกันได้ (เช่น บางงานเม็ดผงจะกองรวมกันจนถึงระดับหนึ่งก่อนแล้วค่อยไหลลงไปเนื่องจากมากองรวมกันจนน้ำหนักมากพอจะไหลต่อได้)
- ไม่สามารถจำลองอนุภาคที่เป็นรูปทรงอื่นนอกจากทรงกลมได้ (เช่น บางงานต้องการวิเคราะห์การลอยของใบไม้  ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นและรับแรงลมได้ดี  ทำให้ทิศทางการลอยจะแตกต่างจากชิ้นงานที่เป็นทรงกลม)

ส่วนใครที่สนใจศึกษาโปรแกรม SolidWorks Simulation สามารถสั่งซื้อ DVD เพื่อไปศึกษาเอง  หรือติดต่อเรียนส่วนตัวได้ตามข้อมูลด้านล่างนะครับ

สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ
คุณพลวัฒน์ (บอล) 
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : 
Simulation Adviser


วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ฟังชั่นใหม่ๆใน SolidWorks Simulation 2017


ในทุกๆปี  โปรแกรม SolidWorks จะมีการอัพเดพฟังชั่นใหม่ทุกครั้ง  ใน Simulation เองก็มีการเพิ่มความสามารถใหม่ๆเข้ามาไม่น้อยซึ่งมีทั้งเพิ่มเป็นฟังชั่นใหม่ไปเลย  หรือมีการปรับเปลี่ยนจุดเล็กๆน้อยๆในโปรแกรมเพื่อให้การใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น  เราสามารถตรวจสอบฟังชั่นใหม่ๆได้โดยเข้าไปที่ Help >> What news >> PDF
สำหรับเวอร์ชั่น 2017 ก็มีฟังชั่นที่เพิ่มเข้ามาไม่น้อย  แต่ผมจะขออธิบายตัวเด่นๆที่น่าจะได้ใช้กันบ่อยดังต่อไปนี้นะครับ

1. Automatic Update Beam Joint  


          การวิเคราะห์ Beam Mesh ในเวอร์ชั่นก่อนๆ  ถ้ามีการแก้ไขชิ้นงาน เช่น เพิ่มหรือลดชิ้นงานที่จะวิเคราะห์, แก้ไขชนิดของ Mesh ที่จะวิเคราะห์ ฯลฯ  หลังจากแก้ไขเสร็จเราจะต้องไปอัพเดต Joint Group เองทุกครั้ง  ถึงจะวิเคราะห์ชิ้นงานที่แก้ไขได้
          เวอร์ชั่น 2017 จึงพัฒนาในส่วนของการอัพเดต Joint Group ให้ทำเองโดยอัตโนมัติเมื่อมีการแก้ไขชิ้นงาน  ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องเสียเวลา  หรือสำหรับมือใหม่อาจจะลืมเข้าไปอัพเดตชิ้นงาน  ทำให้ทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น

2. Converting a Static Study to a New Study

          การ Copy การตั้งค่าในเวอร์ชั่นก่อนไม่สามารถ Copy การวิเคราะห์คนละประเภทได้โดยตรง เช่น เราวิเคราะห์งานแบบ Static  แต่พอทำไปแล้วพบว่าต้องใช้ Nonlinear ในการวิเคราะห์แทน  เมื่อเราจะมาเริ่มใช้ Nonlinear ก็ต้องเสียเวลามาเริ่ม New Study ใหม่  และค่อยๆเริ่มตั้งค่าวัสดุ  จุดยึด  การใส่แรง อีกครั้ง  ทั้งๆที่การตั้งค่าก็เหมือน Static เกือบทั้งหมด
          เวอร์ชั่น 2017 จึงทำให้เราสามารถ Copy Study จาก Static ไปการวิเคราะห์แบบ Linear Dynamic และ Nonlinear ได้โดยตรง

3. Detecting Stress Hot Spots

          ปัญหาหนึ่งที่จะพบกันบ่อยในการดูผลลัพธ์คือปัญหา Stress Concentrate ซึ่งจะเกิดกับบริเวณที่เป็นขอบมุมของชิ้นงาน, ตำแหน่งที่ใส่แรงเป็นจุด  หรือเกิดที่จุด Fixture  ทำให้ค่า Stress ที่ได้ในบริเวณนี้สูงขึ้นเรื่อยๆเมื่อทำ Mesh ให้เล็กลง   ในเวอร์ชั่นก่อนเราจะต้องลองลดขนาดของ Mesh และ Run ใหม่หลายครั้งเพื่อหาจุดที่เป็นปัญหาเหล่านี้และค่อยเข้าไปแก้ไขโมเดลเพื่อแก้ปัญหา
          เวอร์ชั่น 2017 ได้เพิ่มฟังชั่น Stress Hot Spot ขึ้นเพื่อตรวจสอบตำแหน่งที่เป็นปัญหา  และจัดการแก้ไขค่า Stress บนแถบสีให้  ทำให้เราไม่ต้องไปแก้โมเดลแล้ว Run ใหม่  และสามารถนำผลลัพธ์ได้ง่ายขึ้นเพราะไม่มีจุดที่ค่า Stress มีปัญหา

4. Offloaded Simulation

         ความเร็วในการ Run งานขึ้นอยู่กับ CPU ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้  ดังนั้นในเวอร์ชั่นก่อนถ้าต้องการ Run งานไวๆ  เราก็ต้องลงโปรแกรมในเครื่องแรงๆเท่านั้น
          เวอร์ชั่น 2017 จึงเพิ่มทางเลือกให้เราสามารถใช้ CPU ของเครื่องอื่นมา Run งานของเราแทนได้ผ่าน Network  โดยที่เครื่องที่เราจะใช้ CPU ไม่จำเป็นต้องลงโปรแกรม SolidWorks (แต่ต้องลงโปรแกรม SOLIDWORKS Simulation Worker Agent เพื่อให้โปรแกรมรู้จักกันผ่าน Network)

5. Display Simulation Results in SOLIDWORKS Graphics Area


         การแสดงผลลัพธ์ Simulation จะแสดงได้เฉพาะชิ้นงานที่เรามีการคำนวณ  ส่วนชิ้นงานอื่นๆที่เราไม่ได้วิเคราะห์ไม่แสดงรูปออกมา  หรืออย่างมากที่สุดก็สามารถสั่งให้แสดงภาพของชิ้นงานที่เราไม่ได้วิเคราะห์ได้  แต่ภาพชิ้นงานที่ออกมาจะเป็นสีทึบๆแบบง่ายๆ  ไม่ได้มีการ Render ภาพที่สวยงามมากนัก
          เวอร์ชั่น 2017 จึงเพิ่มฟังชั่นการแสดงผลลัพธ์ของ Simulation ในขณะที่เราอยู่ในหน้าต่างการเขียน Model ซึ่งสามารถแสดงผลควบคู่กับภาพ Decal ที่เราทำไว้บนชิ้นงาน  หรือการทำภาพแบบ Real View, Ambient ได้  ทำให้ภาพชิ้นงานสวยงามยิ่งขึ้น

ฟังชั่นใหม่ที่อธิบายข้างต้นทั้ง 5 หัวข้อนั้นเป็นส่วนที่ผมใช้บ่อย  แต่ถ้าใครต้องการทราบว่ายังมีอะไรซ่อนอยู่อีก  สามารถศึกษาได้จาก PDF What new SolidWorks 2017 ที่ติดตั้งพร้อมตัวโปรแกรมได้นะครับ

ส่วนใครที่สนใจศึกษาโปรแกรม SolidWorks Simulation สามารถสั่งซื้อ DVD เพื่อไปศึกษาเอง  หรือติดต่อเรียนส่วนตัวได้ตามข้อมูลด้านล่างนะครับ

สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ
คุณพลวัฒน์ (บอล) 
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : SolidWorks Simulation Adviser

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

การกำหนดแรงกระทำเยื้องศูนย์ (Remote Load)

วิธีวิเคราะห์ Simulation ให้ง่ายและรวดเร็วนั้น  การเตรียมโมเดลเป็นสิ่งสำคัญ  โดยเราจะวิเคราะห์เฉพาะโมเดลที่เราต้องการผลลัพธ์จริงๆเท่านั้น  ส่วนชิ้นงานอื่นๆที่เราไม่ต้องการวิเคราะห์ความแข็งแรง  แต่เป็นภาระกรรมที่มากระทำกับชิ้นงานที่เราต้องการวิเคราะห์  เราสามารถเอาออกจากการคำนวณและใส่เป็นแรงกระทำลงไปแทนได้

ปัญหาอย่างหนึ่งในการเอาชิ้นงานที่เป็นภาระกรรมออกคือ  เราจะใส่แรงอย่างไรให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง  เพราะถ้าชิ้นงานที่เป็นภาระกรรมอยู่ห่างออกไป  การใส่แรงจะต้องมีทั้ง Force และ Moment มากระทำกับชิ้นงานของเรา  ยกตัวอย่างเช่นชิ้นงานดังต่อไปนี้
ตัวโครงเหล็กสีเขียวจะต้องรับน้ำหนักของชิ้นงานสีฟ้าซึ่งมีน้ำหนัก 1,000 N  ถ้าเราสนใจว่าโครงเหลืกจะเสียหายหรือไม่  และต้องการวิเคราะห์ให้น้อยที่สุด  เราจะต้องเอาชิ้นงานสีฟ้าออกจากการคำนวณและใส่เป็นแรงกระทำแทน  แต่ความยากของงานนี้คือเราทราบแค่น้ำหนักที่จะส่งถ่ายมาที่โครงเหล็กสีเขียว  แต่ในความเป็นจริงชิ้นงานที่อยู่ห่างออกไปจะทำให้เกิดแรง Moment ส่งถ่ายมาที่โครงเหล็กเพิ่มมาอีก
ในโปรแกรม SolidWorks Simulaiton จะมีฟังชั่นการใส่แรงที่ชื่อ Remote Load ที่ช่วยให้เราสามารถกำหนดแรงกระทำที่อยู่ห่างออกไปได้  แล้วโปรแกรมจะคำนวณทั้งแรงกดจากน้ำหนักและแรง Moment ให้เองโดยอัตโนมัติ  ซึ่งมีวิธีใช้งานดังต่อไปนี้
1. สร้างแกน Coordinate Syatem เพื่อบอกตำแหน่งของแรงกระทำที่อยู่ห่างออกมา  โดยในตัวอย่างนี้จะเป็นจุดศูนย์กลางของชิ้นงานสีฟ้า (สำหรับงานจริงก็อาจจะเป็นตำแหน่ง CG ของชิ้นงานหรือจุดรวมแรงของแรงกระทำ) 
2. ลบชิ้นงานที่เราไม่ต้องการวิเคราะห์ออกและแบ่งผิวที่โครงเหล็กเพื่อให้เรากำหนดตำแหน่งที่แรงจะส่งถ่ายมาได้
3. เลือกคำสั่ง Remote Load โดยคลิกขวาที่ External Loads >> Remote Load
4. กำหนดค่าใน Remote Load ดังนี้
5. กำหนดค่าวัสดุ, ตำแหน่งจับยึด  และรันดูผลลัพธ์ได้
หวังว่าฟังชั่นนี้จะทำให้เราวิเคราะห์งานกันได้สะดวกมากขึ้นนะครับ  ส่วนใครที่ต้องการเรียนรู้การวิเคราะห์ความแข็งแรงของชิ้นงานแบบอื่นๆ  ทางเราก็มี DVD สอนการใช้งานหรือคอร์สอบรมให้เลือกเรียนรู้กันได้ครับ

สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ
คุณพลวัฒน์ (บอล) 
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : SolidWorks Simulation Adviser

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

หลักสูตรอบรม SolidWorks Flow Simulation สำหรับการวิเคราะห์ใบพัด

คือ หลักสูตรที่เน้นการวิเคราะห์งานที่มีการหมุน เช่น ใบพัด, กังหัน, Blower ฯลฯ โดยใช้โปรแกรม Flow Simulation ซึ่งเนื้อหาในการอบรมประกอบไปด้วย
- การเตรียมโมเดลสำหรับการวิเคราะห์งานหมุน
- การใช้ฟังชั่น Sliding Mesh เพื่อวิเคราะห์ใบพัด (อยู่ใน SolidWorks Version 2015 ขึ้นไป)
- เทคนิคการสร้าง Mesh ให้เหมาะสมเพื่อความแม่นยำของผลลัพธ์
- การทำ Mesh Refinement
- การแสดงผลลัพธ์

วันที่อบรม  7 สิงหาคม 2559
ระยะเวลาในการเรียน  1 วัน
เวลา 9.00 - 16.00 น.

สถานที่
- คอนโด M Phayathai (ห่างจาก BTS อนุสาวรีย์ 200 เมตร)

ผู้สอน
- คุณพลวัฒน์  ไพรไพศาลกิจ (สอนที่ คอนโด M Phayathai)  ดู Profile

ค่าอบรม  3,000 บาท/คน/คอร์ส

ขั้นตอนการลงทะเบียน
1. ***โอนเงินค่าจองคอร์สอบรม 100 บาท*** ได้ที่
บัญชี  นายพลวัฒน์   ไพรไพศาลกิจ
        สาขา  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  บางเขน
        - ธนาคารไทยพาณิชย์   เลขบัญชี  235-207904-0
        - ธนาคารกสิกรไทย       เลขบัญชี  694-2-00704-1
***(ค่าอบรมที่เหลือจ่ายที่ผู้สอนในวันเรียน)***
2. ลงทะเบียนเลือกวันและสถานที่ที่ต้องการได้ ที่นี่

***ผู้เรียนจะต้องเตรียมคอมพิวเตอร์มาเอง***

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่
คุณพลวัฒน์ (บอล)
Tel. 087-489-7265
Email : sim.adviser@gmail.com
Line ID : ballastro

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของใบพัด (Sliding Mesh)

การวิเคราะห์ของไหลใน Flow Simulation มีข้อจำกัดอยู่อย่างหนึ่งซึ่งก็คือไม่สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของของไหลในขณะที่มีชิ้นงานเคลื่อนที่ไปมาได้  ยกเว้นกรณีเดียวคือชิ้นงานมีการเคลื่อนที่แบบหมุนรอบแกนนั้นเอง

ใน SolidWorks Flow Simulation เวอร์ชั่น 2015 มีฟังชั่นใหม่สำหรับการวิเคราะห์ใบพัดนั้นก็คือ การวิเคราะห์แบบ Sliding Mesh ซึ่งช่วยให้เราวิเคราะห์ใบพัดได้หลากหลายแบบและมีความแม่นยำเพิ่มขึ้น

ลักษณะงานที่เหมือนกับการวิเคราะห์แต่ละแบบ

1. Local region(s) (Averaging)  คือ การกำหนดบริเวณที่มีชิ้นงานหมุน  ซึ่งเหมาะกับการวิเคราะห์งานที่ของไหลไหลผ่านตามแนวแกนหมุนของใบพัด  ยกตัวอย่างเช่นพัดลม  ซึ่งจะดูดลมที่ด้านหลังและปล่อยออกที่ด้านหน้าใบพัด
          ผลการวิเคราะห์จะเป็นค่าเฉลี่ยของของไหล  เนื่องจากของไหลที่ผ่านใบพัดมาจะมีค่าไม่คงที่  เช่น เวลาที่ใบพัดตัดผ่านอากาศ  จะทำให้อากาศหน้าพัดลมไหลเร็วขึ้น  แต่ถ้าเป็นจังหวะที่เจอช่องว่างระหว่างใบพัด  อากาศก็จะไหลช้าลง เป็นต้น

2. Local region(s) (Sliding) คือ เป็นฟังชั่นที่เพิ่มเข้ามาใหม่ในเวอร์ชั่น 2015  เป็นการกำหนดบริเวณที่ชิ้นงานหมุนเหมือนข้อแรก  แต่จะเป็นการวิเคราะห์แบบ Transient (ต้องเลือก Time-dependent ด้วย)  ทำให้เราสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของของไหลในขณะที่ใบพัดกำลังหมุนไปได้
          นอกจากนี้การวิเคราะห์แบบ Sliding Mesh ยังเหมาะกับการวิเคราะห์กรณีที่ของไหลไหลออกทางด้านข้างของใบพัด  ยกตัวอย่างเช่น Blower, Centrifigal pump เป็นต้น  ซึ่งจะเป็นการดูดของไหลเข้าทางด้านหน้าและปล่อยออกที่ด้านข้าง
3. Global Rotating คือ การกำหนดให้ชิ้นงานและของไหลทั้งหมดใน Domain ที่เราจะวิเคราะห์มีการหมุนทั้งหมด  ซึ่งเหมาะกับการวิเคราะห์ที่มีชิ้นงานส่วนใหญ่หมุน  หรือวิเคราะห์ใบพัดใบเดียว(ไม่วาดชิ้นงานอื่นเลย) เป็นต้น
          การวิเคราะห์แต่ละแบบก็มีความเหมาะสมในแต่ละงาน  แต่ส่วนตัวผมชอบฟังชั่นที่เข้ามาใหม่มาก  เพราะได้ลองเทียบผลการวิเคราะห์กับผลการทดลองจริงแล้วมีค่าใกล้เคียงกันมาก  แต่อาจจะติดที่ต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์นาน  ดังนั้นใครจะเลือกใช้ก็ลองดูเวลาที่ต้องใช้ทำงานด้วยนะครับ  และในเร็วๆนี้ผมจะทำแผ่นสอนเรื่องการวิเคราะห์ประสิทธ์ภาพใบพัดโดยเฉพาะ  ใครที่สนใจก็ติดตามกันได้ใน Facebook Page : SolidWorks Simulation Adviser นะครับ

สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ
คุณพลวัฒน์ (บอล)
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : SolidWorks Simulation Adviser
          

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

หลักสูตรอบรมการใช้โปรแกรม SolidWorks Simulation สำหรับวิเคราะห์งานโครงสร้าง

คือ หลักสูตรที่เน้นการวิเคราะห์งานเหล็กรูปพรรณที่นำมาประกอบเป็นโครงสร้างต่างๆ เช่น การวิเคราะห์โครงสร้าง Plant, การวิเคราะห์สะพาน, ปัญหางานโครงถัก, โครงรถแข่ง ฯลฯ  โดยเนื้อหาในหลักสูตรจะประกอบไปด้วย
- การเตรียมโมเดลให้เหมาะกับการวิเคราะห์
- วิธีการเลือกและใช้งาน Mesh ให้เหมาะกับงานวิเคราะห์
- วิธีการกำหนดแรงและจุดจับยึดแบบต่างๆ
- การวิเคราะห์โครงสร้างที่ประกอบกันด้วย Bolt
- ปัญหาที่มักพบและวิธีแก้ไข

วันที่อบรม  31 กรกฎาคม 2559
ระยะเวลาในการเรียน  1 วัน
เวลา 9.00 - 16.00 น.

สถานที่
- คอนโด M Phayathai (ห่างจาก BTS อนุสาวรีย์ 200 เมตร)

ผู้สอน
- คุณพลวัฒน์  ไพรไพศาลกิจ (สอนที่ คอนโด M Phayathai)  ดู Profile

ค่าอบรม  3,000 บาท/คน/คอร์ส

ขั้นตอนการลงทะเบียน
1. ***โอนเงินค่าจองคอร์สอบรม 100 บาท*** ได้ที่
บัญชี  นายพลวัฒน์   ไพรไพศาลกิจ
        สาขา  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  บางเขน
        - ธนาคารไทยพาณิชย์   เลขบัญชี  235-207904-0
        - ธนาคารกสิกรไทย       เลขบัญชี  694-2-00704-1
***(ค่าอบรมที่เหลือจ่ายที่ผู้สอนในวันเรียน)***
2. ลงทะเบียนเลือกวันและสถานที่ที่ต้องการได้ ที่นี่

***ผู้เรียนจะต้องเตรียมคอมพิวเตอร์มาเอง***

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่
คุณพลวัฒน์ (บอล)
Tel. 087-489-7265
Email : sim.adviser@gmail.com
Line ID : ballastro

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ผลลัพธ์ที่ได้จาก Simulation มีอะไรบ้าง Part 5/5

ในบทความก่อนๆ  เราได้รู้จักผลลัพธ์ค่าต่างๆกันไปแล้วนะครับ  สำหรับบทความนี้เราจะมาดูเครื่องมือต่างๆที่ช่วยให้เราดูผลลัพธ์กันได้ง่ายมากขึ้น

การเข้าไปที่เครื่องมือต่างๆนั้น  เราจะต้องแสดงผลลัพธ์ตัวนั้นๆก่อน  จากนั้นก็คลิกขวาที่ผลลัพธ์ที่เราต้องการใช้เครื่องมือ  ดังเช่นรูปภาพด้านล่าง

สำหรับเครื่องมือต่างๆที่จะแนะนำมีดังต่อไปนี้
1. Section Clipping  คือ เครื่องมือสำหรับตัด Section เหมือนกับเวลาเราตัดชิ้นงานเพื่อดูภาพใน  แต่สำหรับผลลัพธ์ Simulaiton จะต้องใช้เครื่องมือนี้แทน
2. Iso Cliping  คือ เครื่องมือสำหรับแสดงบริเวณเนื้อชิ้นงานที่มีค่ามากกว่าที่เรากำหนด  เช่น ถ้าเราดูค่า Stress แล้วกำหนด Iso Cliping ไว้ที่ 200 MPa  โปรแกรมก็จะแสดงเฉพาะบริเวณที่มีค่า Stress มากกว่า 200 MPa ให้เราเห็น  ทำให้สามารถระบุตำแหน่งที่ค่า Stress สูงๆ ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายได้ง่ายมากขึ้น
ในทางกลับกันถ้าเราคลิกที่ปุ่ม Reverse โปรแกรมก็จะแสดงบริเวณที่ค่า Stress น้อยกว่าที่กำหนดไว้แทน  ทำให้เราทราบว่าจุดไหนที่ชิ้นงานไม่ค่อยได้ช่วยรับแรง  เราก็สามารถลดเนื้อชิ้นงานบริเวณนั้นๆ เพื่อให้ชิ้นงานเบาลงได้
3. Mesh Sectioning  คือ เครื่องมือที่มาใหม่ในเวอร์ชั่น 2016 ลักษณะคล้ายกับ Section Cliping  แต่เครื่องมือนี้ทำให้เราตัด Section โดยอ้างอิงจาก Mesh ที่สร้าง  ทำให้เราทราบว่าค่าที่ดูอยู่มีลักษณะ Mesh เป็นอย่างไรด้วย
          เครื่องมือทั้ง 3 ชนิดข้างต้น  เมื่อดูผลลัพธ์ได้ตามต้องการแล้วต้องการทำให้ภาพชิ้นงานกลับมาเต็มชิ้นเหมือนเดิม  จะต้องเข้าไปที่เครื่องมือนั้นๆอีกครั้งหนึ่ง  แล้วเลือกคำสั่ง Cliping on/off เพื่อสั่งให้เครื่องมือนั้นๆทำงานหรือปิดการทำงาน
4. Probe  คือ เครื่องมือสำหรับการแสดงผลเป็นจุดๆหนึ่ง  ซึ่งปกติแล้วค่าที่เราเห็นจะเป็นเฉดสี  ซึ่งการจะบอกว่าสีนี้มีค่าเท่าไรเป็นเรื่องยาก  ดังนั้นถ้าเราต้องการวัดค่าที่จุดใดจุดหนึ่งจะใช้ Probe เป็นตัวช่วยแสดงผล
หวังว่าบทความนี้จะช่วยคนที่ต้องอ่านผลลัพธ์แบบจริงจังและผู้ที่ออกแบบหรือพัฒนาชิ้นงานได้นะครับ

สำหรับคนที่ต้องการเรียนรู้แบบเป็นหลักสูตร  ตอนนี้ทาง SolidWorks Simulation Adviser ได้เปิดคอร์สอบรม 2 คอร์ส คือ
- SolidWorks Simulation เป็นคอร์สสำหรับการวิเคราะห์ความแข็งแรงของชิ้นงาน  ดูรายละเอียดคลิกที่นี่
- SolidWorks Flow Simulation เป็นคอร์สสำหรับการวิเคราะห์ของไหล  ดูรายละเอียดคลิกที่นี่
ผู้ที่สนใจสามารถเลือก วันและสถานที่ ได้จากลิ้งลงทะเบียนนะครับ

สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ
คุณพลวัฒน์ (บอล)
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : SolidWorks Simulation Adviser

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ผลลัพธ์ที่ได้จาก Simulation มีอะไรบ้าง Part 4/5

หลังงานที่ดูผลลัพธ์ทั้งค่า Stress และ Displacement กันไปแล้ว  คราวนี้เรามาดูเรื่อง Safety Factor กันบ้างนะครับ

สำหรับค่า Safety Factor หรือ Factor of Safety หรือ ค่าความปลอดภัย  ซึ่งจะใช้คำไหนก็ความหมายเดียวกัน คือ ค่าที่คนออกแบบชิ้นงานนั้นๆ เผื่อเอาไว้เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานนั่นเอง  ซึ่งในคำนวณหาค่า Safety Factor นั้นก็มีหลายแบบขึ้นอยู่กับว่าเรากำลังวิเคราะห์งานแบบไหน  หรือใช้วัสดุอะไรอยู่  ซึ่งผมจะขออธิบายแบบง่ายๆ ไม่ลงไปในทฤษฎีลึกละกันนะครับ
วิธีคำนวณ Factor of safety ที่โปรแกรมสามารถคำนวณได้มีดังนี้
1. Maximum von Mises stress
2. Maximum shear stress (Tresca)
3. Mohr-Coulomb stress
4. Maximum Normal stress
สำหรับการวิเคราะห์วัสดุ Composite จะเพิ่มรูปแบบการคำนวณขึ้นมาอีก 3 ชนิดดังนี้
5. Tsai-Hill Criterion
6. Tsai-Wu Criterion
7. Maximum Stress Criterion

ถ้าหากเราไม่ได้เลือกวิธีคำนวณแบบใดเป็นพิเศษ  แต่เลือกเป็น Automatic โปรแกรมจะไปดูจากวัสดุที่เราเลือกใช้ว่าในวัสดุนั้นๆกำหนดไว้ว่าจะให้ใช้วิธีการคำนวณแบบไหน  แล้วแสดงเป็นผลลัพธ์ออกมาให้เราเอง
แต่ถ้าหากเราไม่ได้กำหนดวิธีคำนวณความเสียหายในค่าวัสดุด้วย  โปรแกรมจะใช้วิธี Mohr-Coulomb คำนวณให้นะครับ  โดยส่วนตัวแล้วผมจะใช้อยู่หลักๆ 2 ตัวก็คือ
Maximum von Mises stress  ซึ่งใช้สำหรับพิจารณาวัสดุเหนียว
- Mohr-Coulomb stress  ซึ่งใช้สำหรับวัสดุเปราะ

โดยส่วนใหญ่แล้ววัสดุในทางวิศวกรรมที่ใช้กันมักจะเป็นวัสดุเหนียว  แต่งานบางอย่างก็ใช้โลหะที่มีการชุบแข็ง  ทำให้กลายเป็นวัสดุเปราะ  หรืออาจจะวิเคราะห์วัสดุจำพวกแก้วซึ่งก็เป็นวัสดุเปราะเหมือนกัน  ดังนั้นเวลาดูผลลัพธ์ค่า Factor of safety ก็เลือกทฤษฎีให้ถูกต้องด้วยนะครับ

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

แผ่นสอน Simulation Nonlinear

สวัสดีครับ  วันนี้ผมมีแผ่นสอนใหม่มาแนะนำให้ทุกๆท่านรู้จักกันนะครับ  แผ่นสอนนั้นคือ SolidWorks Simulation Nonlinear นั่นเอง
สำหรับคนที่สงสัยว่าแล้ว Nonlinear คืออะไร  ต่างกับ Linear Static ตรงไหน  สามารถศึกษาดูได้ในบทความนี้นะครับ
Non-linear Analysis VS Linear Static Analysis

สำหรับแผ่นสอนนี้ผมจะเน้นไปที่ทฤษฎีเกี่ยวกับวัสดุต่างๆ ที่ต้องใช้การวิเคราะห์ Nonlinear  สอนเครื่องมือที่แตกต่างจากการวิเคราะห์แบบ Linear Static (ส่วนใหญ่เหมือนกัน  แต่ต่างแค่บางจุด) รวมถึงอธิบาบความแตกต่างระหว่างงานที่ได้จากการวิเคราะห์แบบ Nonlinear กับ Linear Static

ใครที่สนใจสามารถดูข้อมูลในแผ่นสอนได้ที่นี่

วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ผลลัพธ์ที่ได้จาก Simulation มีอะไรบ้าง Part 3/5

สวัสดีครับ  ขอโทษด้วยที่หายไปนานเลย  คราวนี้เรามาดูกันต่อเรื่องผลลัพธ์ Displacement กันบ้างนะครับ

Displacement ที่สามารถดูได้มีหลายประเภท  แต่ที่ใช้กันหลักๆจะมีอยู่ 4 ตัวด้วยกันคือ
1. URES  คือ ระยะที่ชิ้นงานบิดงอไปแบบระยะขจัด  เพราะชิ้นงาน 3 มิติจะมีการบิดงอได้ทั้งในแนวแกน X, Y, Z ดังนั้นระยะที่รวมทั้ง 3 แนวแกนคือค่า URES

2. UX Displacment  คือ ระยะที่ชิ้นงานบิดงอตามแนวแกน X
3. UY Displacment  คือ ระยะที่ชิ้นงานบิดงอตามแนวแกน Y
4. UZ Displacment  คือ ระยะที่ชิ้นงานบิดงอตามแนวแกน Z
ปกติแล้วทิศทาง X, Y, Z จะอ้างอิงจาก Global Coordinate ของไฟล์ Part หรือ Assembly นั้นๆ  แต่ว่าเราเปลี่ยนแกนอ้างอิงได้โดยสร้าง Global Coordinate ของตัวเองขึ้นมาและกำหนดให้การแสดงผลลัพธ์เป็นไปตามแกนอ้างอิงใหม่
นอกจากการอ้างอิงมาแนวแกน X, Y, Z แล้ว  เรายังสามารถเปลี่ยนทิศทางเป็นแบบ Radial(ทิศทางตามแนวรัศมี), Tangential (ทิศทางตามแนวเส้นรอบวง), Axial(ทิศทางตามแนวแกนหมุน)  ซึ่งการดูผลลัพธ์แบบนี้เหมาะกับชิ้นงานที่เป็นทรงกระบอกหรือทรงกลม

ภาพตัวอย่างที่ผมเอามาแสดงประกอบการอธิบายอาจจะมีค่า Displacement อย่างเดียว  แต่การเปลี่ยนทิศทางนี้สามารถทำที่ผลลัพธ์อื่นๆ เช่น Stress, Strain ได้ดัวยนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559

ผลลัพธ์ที่ได้จาก Simulation มีอะไรบ้าง Part 2/5

ในครั้งที่แล้ว  เราพูดถึงผลลัพธ์โดยรวมว่ามีอะไรบ้าง  แต่คราวนี้เราจะมาลงรายละเอียดเรื่องของผลลัพธ์ Stress กันให้มาขึ้นะครับ  เนื่องจากผลลัพธ์นี้เป็นตัวชี้วัดว่าชิ้นงานของเราจะเกิดความเสียหายขึ้นหรือไม่  แต่ค่า Stress เองก็มีแยกย่อยมีหลายชนิด  ผมจะขอพูดถึงตัวที่เราใช้ดูกันบ่อยๆ ดังต่อไปนี้

1. Von Mises Stress  

คือ ผลลัพธ์ Stress ที่จะแสดงออกมาเป็นค่าแรกในโปรแกรม SolidWorks Simulation  อธิบายง่ายๆคือ เป็นค่า Stress ที่นำผลลัพธ์ Stress ทั้ง 6 แบบ มาเข้าสูตรรวมกันเพื่อหาว่าชิ้นงานได้รับ Stress รวมๆแล้วเท่าไรบ้าง
เรามักจะใช้ค่านี้ในเปรียบเทียบกับค่า Yield Stress ของวัสดุเพื่อดูว่าชิ้นงานเสียหายหรือยัง  โดยถ้าค่า Maximum Von Mises Stress มากกว่า Yield ก็จะถือว่าชิ้นงานเกิดความเสียหายแล้ว

แต่การดูค่า Von Mises Stress อย่างเดียวก็อาจจะไม่ใช่คำตอบทั้งหมด  เนื่องจาก 2 สาเหตุดังนี้คือ
- เราจะใช้การดู Von Mises Stress กับวัสดุเหนียว (ส่วนใหญ่โลหะทั่วไปก็มักจะเป็นวัสดุเหนียว)
- ค่า Von Mises Stress จะบอกทิศทางของแรงไม่ได้  ดังนั้นถ้าค่า Von Mises Stress สูงเกินค่า Yield แต่ชิ้นงานได้รับแรงกด  ชิ้นงานก็อาจจะไม่เสียหาย  เช่น ถ้านำลวดเหล็กมาดึง  ลวดเหล็กอาจจะรับน้ำหนักได้ 1 ตันก็ขาด  แต่ถ้าเอาลวดเหล็กมาทับด้วยน้ำหนัก 1 ตันเหล็กก็อาจจะยังไม่ขาดเป็นต้น

2. Principal Stress

เรียกอีกอย่างว่า ค่าความเค้นในแนวแกนหลัก  ปกติจะใช้ดูวัสดุเปราะว่าเกิดความเสียหายหรึอไม่  แต่ผมจะใช้การดูผลลัพธ์ตัวนี้ควบคู่กับการดูค่า Von Mises Stress ไปด้วย  เนื่องจากค่า Principal Stress สามารถดูทิศทางของแรงที่เกิดขึ้นได้ว่าเป็นแรงดึงหรือแรงกด  โดยแรงดึงจะมีค่า Stress เป็นบวก  ส่วนแรงกดมีค่า Stress ติดลบ

ตัวอย่างการอ่านผลลัพธ์

- งานวิเคราะห์แผ่นเหล็กที่ยึดกันด้วย Bolt โดยแผ่นเหล็กมีเหลืองจะถูกยึดอยู่กับที่  และแผ่นเหล็กสีฟ้าจะถูกงัดขึ้นและมีแรงดันไปด้านข้างด้วย
- ผลลัพธ์ค่า Von Mises Stress จะพบว่าจุดที่ค่า Stress สูงที่สุดอยู้บริเวณ Bolt
- แต่เมื่อแสดงผลลัพธ์ Principal Stress 1 จะเห็นว่าค่า Stress สูงที่สุดอยู่ส่วนล่างของแผ่นเหล็กสีฟ้า  ส่วนจุดที่เป็นค่า Von Mises Stress สูงที่สุดกลับเป็นสีน้ำเงินแทน  เพราะตำแหน่งนั้นชิ้นงานได้รับแรงกดจาก Bolt
- ดังนั้นเราจะสรุปความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ว่าตำแหน่งที่ชิ้นงานจะเสียหายจริงควรเป็นด้านล่างแผ่นเหล็กสีฟ้า

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เราสรุปความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ตรงจุดมากขึ้นนะครับ

ส่วนใครที่ต้องการศึกษาโปรแกรม SolidWorks Simulation อย่างจริงจังแต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนดี  ก็สามารถซื้อแผ่นสอนไปเรียนรู้ด้วยตัวเองได้  เพราะเนื้อหาในแผ่นสอนได้อธิบายตั้งแต่ทฤษฎีและการเริ่มต้นใช้งาน เพื่อให้ผู้ที่ไม่เคยทำงานวิเคราะห์มาก่อนสามารถเรียนรู้เข้าใจได้  ไปจนถึงการใช้งานระดับสูงเพื่อวิเคราะห์งานที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

ดูรายละเอียดแผ่นสอน SolidWorks Simulation คลิกที่นี่

รับสอนหรือปรึกษาการใช้งาน SolidWorks Simulation 

คุณพลวัฒน์ (บอล)
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : SolidWorks Simulation Adviser

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ผลลัพธ์ที่ได้จาก Simulation มีอะไรบ้าง Part 1/5

มีหลายคนเริ่มเข้ามาถามว่าค่า Von mises Stress คืออะไร, ค่า URES คืออะไร, จะดูยังไงว่าชิ้นงานพังรึยัง , สีบนชิ้นงานบอกอะไรบ้าง  ฯลฯ  ซึ่งเรื่องนี้คงจะต้องอธิบายกันยาวพอสมควร  เนื่องจากผมจะต้องขอปูพื้นฐานทั้งทางทฤษฎี(ไม่ลึกมากนะครับ  เอาแค่ให้เข้าใจ  เพราะอยากให้คนที่ไม่ได้มาทางสายวิศวะก็อ่านรู้เรื่อง  ถ้าใครต้องการศึกษาเชิงลึกก็มีหนังสืออยู่มากมายให้เลือกเลยครับ)  แล้วค่อยมาถึงวิธีการใช้งานจริงๆกัน  ดังนั้นสำหรับบทความเริ่มต้นนี้ผมจะขออธิบายแบบกว้างๆก่อน  แล้วค่อยลงไปในรายละเอียดทีละเรื่องนะครับ

ผลลัพธ์ที่ได้จาก SolidWorks Simulation จะมีหลักๆอยู่ 4 อย่างคือ

1. Stress หรือ ความเค้น  ใช้บอกว่าตำแหน่งใดบ้างบนชิ้นงานที่ได้รับแรงกระทำมากน้อยเท่าใด  ทำให้เราทราบว่าตรงไหนบนชิ้นงานจะเสียหาย  หรือตำแหน่งไหนที่แข็งแรงเกินความจำเป็น

2. Displacement หรือ การบิดงอไปจากตำแหน่งเดิม  ใช้บอกว่าตำแหน่งใดๆบนชิ้นงานจะเคลื่อนไปจากจุดเดิมมากน้อยแค่ไหน  แต่ไม่ได้หมายความว่าจุดที่ชิ้นงานเคลื่อนที่ออกไปเยอะสุดจะเป็นจุดที่เสียหาย  ผมขอยกตัวอย่างเรื่อง Spring Board
จากรูปจะเห็นว่าตำแหน่งที่ Spring Board งอมากสุด  กับตำแหน่งที่ Spring Board จะหักถ้ารับน้ำหนักเกิด  อยู่คนละตำแหน่งกัน  ดังนั้นในการดูผลลัพธ์เรื่องความเสียหายเราจะดูจาก Stress เป็นหลัก  ไม่ได้ดูจาก Displacement

3. Stain หรือ ความเครียด  ใช้แสดงว่าเนื้อชิ้นงานตรงตำแหน่งนั้นๆ ยืดออกไปจากเดิมมากน้อยแค่ไหน  ค่านี้จะสัมพันธ์กับค่า Stress  คือตำแหน่งที่ชิ้นงานต้องรับแรงมากจะมีค่า Strain มากด้วย  นอกจากนี้ยังใช้ดูทิศทางแรงที่มากระทำกับชิ้นงานได้  โดยทิศทางของแรงที่ว่าคือ แรงดึง(Tension) และแรงกดอัด (Compresstion)
สำหรับการดูความเสียหายของชิ้นงาน  เรื่องทิศทางแรงก็มีความสำคัญเช่นกัน  ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเอากระดาษไปรองขาโต๊ะ  กระดาษจะได้รับแรงกดทับหรือแรง Compression นั่นเอง  ต่อให้เราขึ้นไปนั่งบนโต๊ะเพื่อให้กระดาษโดนทับแรงขึ้น  แต่กระดาษก็ไม่ได้ขาด(ยกเว้นตัวหนักมากๆก็ไม่แน่นะครับ 555)  แต่ในทางกลับกัน  ถ้าเราเอากระดาษนั้นไปดึงหรือใส่แรง Tension  ด้วยแรงขนาดเท่ากับตอนกดทับ  กระดาษก็อาจจะขาดตั้งแต่ตอนที่ยังใช้แรงไม่เท่ากับตอนกดทับ

ดังนั้นจะเห็นว่าทิศทางแรงเองก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการดูความเสียหายของชิ้นงาน  เวลาที่เราดูค่า Stress บางครั้งค่า Stress สูงๆอาจจะเป็นแรงกดทับหรือแรง Compression ก็ได้  แต่ส่วนใหญ่แล้วชิ้นงานจะเสียหายจากแรง Tension เป็นหลัก  เราจึงต้องดูว่าตรงไหนรับแรง Tension มากที่สุดด้วย

4. Factor of safety หรือ ค่าความปลอดภัย  ใช้แสดงว่าการออกแบบของเรามีการเผื่อให้ชิ้นงานได้รับแรงมากกว่าที่บอกไว้ในสเป็คของชิ้นงานนั้นๆเท่าไรบ้าง  ขอยกตัวอย่างเรื่องลิฟท์นะครับ  เวลาที่เราเข้าไปในลิฟท์ก็จะมีบอกว่ารับคนได้ 10 คน เป็นต้น  แต่คนออกแบบเค้าไม่ได้ออกแบบมาให้รับได้ 10 คนพอดี  เพราะถ้าออกแบบให้รับได้ 10 คนพอดี  เวลาคนที่ 11 พยายามจะเบียดเข้ามาลิฟท์ก็จะตกทันที  ซึ่งอันตรายมาก  ดังนั้นคนออกแบบเค้าอาจจะสร้างมาเพื่อให้รับได้ 15 คน  แต่เขียนในสเป็คของลิฟท์ว่ารับได้ 10 คนเพื่อความปลอดภัยนั่นเอง

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การใส่แรงเฉพาะจุดที่ต้องการ (Split face)

ในการลดความซับซ้อนของการวิเคราะห์  วิธีหนึ่งที่ได้ใช้กันบ่อยก็คือนำชิ้นงานที่ไม่ได้สนใจวิเคราะห์ออกจากการคำนวณ  ซึ่งจะช่วยลดการสร้าง Mesh ทำให้โปรแกรมใช้ Mesh น้อยลง(ลดจำนวน Ram ที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้)  จึงคำนวณผลลัพธ์ได้เร็วขึ้น  แต่การนำชิ้นงานบางส่วนออกไปก็อาจทำให้เกิดปัญหา เช่น จะวิเคราะห์ชิ้นงานที่โดนหัวกดรูปวงกลมกดลงมา  ถ้าเราเอาหัวกดออกแล้วใส่แค่แรงแทน  จะทำได้อย่างไร  ดังนั้นบทความนี้เราขอนำเสนอเรื่องเบสิคที่ได้ใช้บ่อยๆ  นั้นก็คือ  วิธีการกำหนดแรงกระทำ  หรือการกำหนดจุดจับยึดบนพื้นผิวเล็กๆบางส่วนที่ต้องการ
ขั้นตอนการทำงาน
1. วาดรูปพื้นที่ที่ต้องการใส่แรงกระทำ  หรือจับยึด  บนผิวที่ที่ต้องการ   ด้วยคำสั่ง Sketch
2. ใช้คำสั่ง Split Line  ซึ่งอยู่ใน แถบ Feature >> Curve >> Split face
3. คลิกเลือกเส้น Sketch ที่วาดเอาไว้  และพื้นผิวที่ต้องการกำหนดแรงหรือจุดจับยึด

4. เราจะได้พื้นที่ผิวที่ต้องการออกมา  จากนั้นก็กำหนดแรงกระทำหรือจุดจับยึดได้เลย

หวังว่า Tip & Trick นี้จะช่วยให้เราทำงานกันได้ง่ายขึ้นนะครับ

รับวิเคราะห์  ให้คำปรึกษา  และสอนโปรแกรม SolidWorks Simulation  ติดต่อได้ที่
คุณพลวัฒน์ (บอล) 
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : SolidWorks Simulation Adviser