ขั้นตอนสำหรับการวิเคราะห์ Fatigue
1. กำหนดค่าการวิเคราะห์ในฟังชั่น Static ในขั้นตอนนี้ทำเหมือนการวิเคราะห์ Static ปกติ ได้แก่
- กำหนดค่าวัสดุ
- กำหนด Contact (สำหรับวิเคราะห์งาน Assembly ถ้าวิเคราะห์ Part ให้ข้ามขั้นตอนนี้ได้เลย)
- กำหนด Fixture
- กำหนด Load
- สร้าง Mesh
- Run เพื่อหาผลลัพธ์
สำหรับขั้นตอนข้างต้น ถ้าหากใครยังไม่เคยใช้งาน SolidWorks Simulation ให้ศึกษาจากวีดีโอนี้ดูนะครับ คลิกที่นี่
2. หา Loading Ratio เนื่องจากความเสียหายจาก Fatigue เกิดจากแรงกระทำซ้ำๆ ซึ่งขนาดของแรงจะมีขึ้นมีลง ในการบอกโปรแกรมว่าแรงกระทำมีการกดหรือการดึงอย่างไรบ้าง จะบอกโดยใส่ค่า Loading Ratio ซึ่งมีวิธีการหาดังนี้
Loading Ratio = Load min/Load max
EX1 ถังความดันต้องรับแรงดันที่อัดเข้ามา 30 MPa และมีการดูดอากาศจนแรงดันติดลบ(เป็นสุญญากาศ) 0.3 MPa แสดงว่า Loading Ratio = -0.3/30 = -0.01EX2 เครนยกน้ำหนัก 50 ตัน และวางของลงทำให้เครนไม่ต้องรับแรงอะไรเลย แสดงว่า Loading Ration = 0/50 = 0
3.เข้าการวิเคราะห์ Fatigue
4. กำหนดจำนวนครั้งที่ชิ้นงานโดนแรงกระทำ ใส่ค่า Loading Ratio และเลือก Study Static ที่เราทำเอาไว้ในขั้นตอนที่ 1
5. ใส่ค่า SN-Curve (ถ้าไม่มีค่าจากการทดลอง ก็ใช้วิธีตามบทความนี้นะครับ)
6. Run ดูผลลัพธ์กันเลย ผลลัพธ์ที่ดูได้หลักๆ จะมี 2 ตัวคือ
- Damage Percentage คือผลลัพธ์ที่แสดงว่าชิ้นงานเสียหายไปเท่าไรเมื่อทำไปใช้งานตามจำนวนครั้งที่เรากำหนดในข้อ 4 ถ้าหากเกิน 100% แสดงว่าชิ้นงานใช้งานได้ไม่ถึงจำนวนครั้งที่กำหนด
- Total Life คือผลลัพธ์แสดงจำนวนครั้งที่ชิ้นงานสามารถรับแรงได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น