วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Simulation Xpress คืออะไร? ต่างกับ Simulation ปกติอย่างไร ?

ในโปรแกรม SolidWorks ได้แบ่ง Package ของโปรแกรมออกเป็นส่วนของ SolidWorks สำหรับเขียน CAD และ Package ของ Simulation สำหรับวิเคราะห์ CAE ดังนี้ (ในโปรแกรม SolidWorks ยังมีฟังชั่นเสริมอื่นๆ อีกมากมาย เช่น SolidWorks Electrical, SolidCam, Composer ฯลฯ แต่ใน Blog นี้จะขอพูดเรื่อง Simulation เป็นหลักนะครับ)


จากรูปด้านบนจะเห็นว่าฟังชั่น Simulation มีการแยกต่างหากออกมา  และมีหลาย Package ให้เราเลือกใช้ได้ตามงานที่เราต้องการ  แต่ SimulationXpress ที่จะขอกล่าวถึงในบทความนี้  เป็นเสมือนตัวทดลองใช้ให้เราได้ลองใช้งาน Simulation กับแบบง่ายๆ ซึ่งฟังชั่นนี้จะอยู่ใน Package SolidWorks Standard (เป็น Package เริ่มต้นของ SolidWorks เลย) ซึ่งอาจจะมีข้อจำกัดหลายๆอย่างเมื่อเทียบกับ Simulation ตัวเต็มที่เป็น Package ต่างๆ ดังนี้

ความสามารถของ SimulationXpress VS Simulation Linear Static

1. วิเคราะห์ได้แค่ความแข็งแรงเท่านั้น (เหมือนฟังชั่น Static แต่ความสามารถอาจจะน้อยกว่า)
2. วิเคราะห์ได้แค่ Part ชิ้นเดียวเท่านั้น (ใช้กับ Assembly หรือ Part ที่มีการเขียนเป็น Multi body ไม่ได้)
3. การกำหนด Fixture (จุดจับยึด) ทำได้แบบเดียว คือ การยึดแน่อยู่กับที่ (ฟังชั่น Static สามารถจับยึดได้หลายแบบ เช่น ยึดชิ้นงานแกนหมุน  ยึดแบบให้ชิ้นงานสไลด์ไปมาบนผิวที่กำหนด เป็นต้น)
4. กำหนด Load (แรงกระทำ) ได้แค่ Force และ Pressure (ฟังชั่น Static มีแรงกระทำหลายแบบ เช่น แรงเหวี่ยง  แรงโน้มถ่วง  แรงแบบ Bearing ฯลฯ)
5. สร้าง Mesh แบบ Standard เท่านั้น (ฟังชั่น Static จะมี Mesh แบบ Curvature ซึ่งช่วยให้การสร้าง Mesh สำหรับชิ้นงานที่มีส่วนโค้งหรือรูเจาะเล็ก ทำได้ง่ายและดีขึ้น)
6. วิเคราะห์ Mesh ชนิด Solid Mesh ได้เท่านั้น (ฟังชั่น Static จะมี Mesh 3 ชนิด คือ Solid, Shell และ Beam เพื่อให้เหมาะกับงานแต่ละแบบ  ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูได้ที่บทความนี้)
7. ผลลัพธ์ที่ดูได้มีจำกัด  และไม่สามารถดูผลเชิงลึกได้ (เช่น เปลี่ยนหน่วยไม่ได้  วัดค่าแต่ละจุดไม่ได้  ตัด Section ไม่ได้ เป็นต้น  )
    - ค่า Stress ดูได้แค่ Von Mises Stress
    - ค่า Displacement ดูได้แค่ระยะขจัด
    - ค่า Factor of safety ดูได้แค่มีบริเวณไหนบนชิ้นงานมีค่าต่ำกว่าที่กำหนด เช่น ให้โปรแกรมแสดงว่าบริเวณไหนมี Factor of safety ต่ำกว่า 2  โปรแกรมจะแสดงผลเป็นสีแดงที่บริเวณค่าต่ำกว่า 2  ส่วนที่เหลือจะเป็นสีน้ำเงินทั้งหมด  (ฟังชั่น Static สามารถไล่เฉดสีได้ว่าตำแหน่งไหนบนชิ้นงานมีค่า Factor of safety เท่าไรบ้าง)

ถ้าใครที่ต้องการวิเคราะห์งานง่ายๆ ก็อาจจะลองใช้ SimulationXpress ดูได้นะครับ  โดยการใช้งาน SimulationXpress สามารถเข้าไปใช้งานได้ที่แถบ Evaluate (ก่อนใช้งาน SimulationXpress ต้องปิด Add-in Simulation ตัวเต็มก่อนนะครับ)


สำหรับคนที่ใช้ SolidWorks Version 2015 ขึ้นไป  ทาง SolidWorks อาจจะขอเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน  ทำให้ต้องมีการขอรหัส Activate ก่อนนะครับ  แต่ก็ไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอะไร  เราสามารถทำตามขึ้นตอนต่อไปนี้ได้เลย (ส่วนคนที่ใช้ Version เก่า ก็ไม่ต้องทำตามขึ้นตอน  สามารถใช้งานได้เลยครับ)







แต่ถ้าใครต้องการผลลัพธ์หรือการวิเคราะห์ที่มากกว่านั้นก็ต้องใช้ Simulation ตัวเต็มกัน  ซึ่งผู้ที่สนใจศึกษาก็สามารถเรียนรู้จากแผ่นสอน SolidWorks Simulation ได้

ดูรายละเอียดแผ่นสอน SolidWorks Simulation คลิกที่นี่

รับสอนหรือปรึกษาการใช้งาน SolidWorks Simulation 
คุณพลวัฒน์ (บอล)
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : SolidWorks Simulation Adviser


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น