วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคคลิกมุมอับ (How to used select other)

เคยมั๊ยครับ  เวลาต้องการคลิกผิวบางผิว  หรือคลิก Body บางอัน  แต่จุดที่ต้องการคลิกกลับถูกซ่อนอยู่ด้านหลังชิ้นงานอื่นๆ  หรือไม่ก็ผิวที่ต้องการคลิกเป็นผิวที่สัมผัสกับชิ้นงานอื่น ทำให้ไม่ว่าจะหมุนชิ้นงานให้อยู่ในมุมไหนๆ ก็ไม่สามารถคลิกเลือกผิวที่ต้องการได้  บทความนี้จึงเขียนขึ้นมาเพื่อบอกถึงเทคนิคให้เราสามารถเลือกผิวไหนก็ได้ตามที่เราต้องการ

เทคนิคการเลือกผิวหรือชิ้นงานใดๆ ที่จะนำเสนอมีอยู่ 3 แบบ

1. การใช้ Section View  

สำหรับวิธีการนี้เป็นวิธีการที่ Basic สุดๆ เพราะทุกๆคนน่าจะเคยใช้กันมาบ้าง  แต่อาจจะนึกไม่ถึงว่าสามารถนำมาประยุกต์เพื่อให้เราคลิกผิวที่อยู่ด้านในของชิ้นงานได้  เช่น ถ้าใครวิเคราะห์พวกถังรับแรงดันจะต้องคลิกที่ผิวด้านในถังเพื่อกำหนดแรงดัน  เราก็สามารถใช้ Section View เพื่อช่วยในการกำหนดค่าได้

2. การกำหนดความโปร่งใส Transparency


บางครั้งโมเดลที่เราวาดก็จะมีกล่องครอบอยู่  ทำให้เรามองไม่เห็นด้านใน  และคลิกเลือกผิวต่างๆได้ลำบาก  การกำหนดให้ชิ้นงานโปร่งใสจะช่วยให้เราคลิกทะลุผิวที่โปร่งใส  ไปเลือกผิวที่อยู่ด้านในได้แทน

3. การใช้คำสั่ง Select Other

สำหรับผม  คำสั่งนี้คือตัวช่วยสำคัญที่สุด  เพราะทำให้เราสามารถเลือกผิวหรือชิ้นงานใดๆก็ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์แบบใดก็ตาม  โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาเตรียมโมเดลก็ก่อน(2 วิธีด้านบนจะต้องเตรียมทำ Section View หรือไม่ก็ทำให้ชิ้นงานโปร่งใสก่อน)  และที่สำคัญคือบางงานเราก็ใช้ 2 วิธีด้านบนเพื่อเลือกผิวไม่ได้ด้วย


วิธีการใช้งาน คือ
- เข้าไปที่คำสั่งที่เราต้องการกำหนดค่า เช่น จะกำหนดให้ชิ้นงานมีการเชื่อมกัน(Bond) ก็เข้าไปที่ Connection, จะใส่แรงก็เข้าไปที่คำสั้ง Force ฯลฯ
- เอา Cursor ไปชี้ตรงตำแหน่งผิวที่เราต้องการคลิกเลือก  (ผิวที่เราต้องการอาจจะโดนบังอยู่  แต่ก็ไม่เป็นไร  ให้ Cursor อยู่ที่ตำแหน่งนั้นๆก็พอ)
- คลิกขวา >> เลือก Select Other
- โปรแกรมจะปรากฎหน้าต่างเพื่อบอกว่า  ตำแหน่งที่ Cursor อยู่  สามารถเลือกผิวใดได้บ้าง  โดยผิวที่อยู่ในหน้าต่างจะเป็นผิวที่ถูกซ่อนอยู่ด้านหลังทั้งหมด  เราก็สามารถเลือกผิวที่ต้องการโดยเลื่อน Cursor ไปชี้ที่ผิวต่างๆ เพื่อหาผิวที่ต้องการได้เลย
หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้ใช้งาน Simulation ทุกๆท่านทำงานได้สะดวกมากขึ้นนะครับ  สำหรับใครที่ต้องการเรียนรู้การใช้งานตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไปถึงขั้นสูง  รวมถืง Tip เทคนิคต่างๆ ก็สามารถสั่งซื้อแผ่นสอนไปเรียนรู้ด้วยตัวเองได้  โดยในแผ่นสอนจะมีทั้งวีดีโอเป็นภาษาไทยและไฟล์โมเดลให้ลองทำตาม  และเนื้อหาที่สอนจะเป็นไปตามหลักสูตร Training ของบริษัท SolidWorks โดยตรงครับ

ดูรายละเอียดแผ่นสอน SolidWorks Simulation คลิกที่นี่

รับสอนหรือปรึกษาการใช้งาน SolidWorks Simulation 
คุณพลวัฒน์ (บอล)
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : SolidWorks Simulation Adviser

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การตรวจสอบการกินเนื้อของโมเดลเพื่อสร้าง Mesh (How to check interference?)

ผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับ Mesh Error ไปแล้วว่า  สาเหตุที่ทำให้เราสร้าง Mesh ไม่ได้เกิดจากอะไรได้บ้าง  แต่ในบทความนี้จะขอเจาะลึกถึงเทคนิค  วิธีการตรวจสอบโมเดลที่มีปัญหาชิ้นงานกินเนื้อกันโดยเฉพาะ
 ลักษณะของชิ้นงานที่กินเนื้อกันจะมีอยู่ 2 สาเหตุหลักๆคือ
1. เขียน Part เป็น Multi body  ในโปรแกรม SolidWorks Simulation จะมองว่าชิ้นงาน Part ที่เป็น Multibody มีค่าเท่ากับงาน Assembly  ดังนั้นการเขียน Part ให้กินเนื้อกันทำให้โปรแกรมสร้าง Mesh ไม่ได้
2. การประกอบ Assembly ทำให้ชิ้นงานกินเนื้อกัน

สาเหตุทั้ง 2 ข้อข้างต้นสามารถตรวจสอบได้โดยใช้คำสั่ง Interference Detection ดังรูป
**คำสั่ง Interference Detection จะมีใน Assembly เท่านั้น  ดังนั้นถ้าต้องการตรวจสอบจุดที่มีการกินเนื้อกันของ Part ที่เป็น Multibody จะต้องนำ Part นี้ไปเปิดใน Assembly ก่อนจึงจะใช้งานคำสังนี้ได้**