วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ความถี่ธรรมชาติคืออะไร (What is Natural Frequency? )

การวิเคราะห์งานสั่นสะเทือนเป็นเรื่องที่ต้องบอกว่าเข้าใจค่อนข้างยาก  และสำหรับคนที่เข้าใจแล้วก็ยังอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ยากด้วย(เรื่องนี้กำลังประสบกับตัวเองอยู่ 555)  ดังนั้นก่อนเราจะไปถึงจุดนั้น  เรามารู้จักเรื่องพื้นฐานของการวิเคราะห์การสั่นสะเทือนกันก่อน  นั่นก็คือเรื่องความถี่ธรรมชาตินั่นเอง

ถ้าหากเราออกแรงกระทำชิ้นงาน  ทำให้ชิ้นงานเริ่มเกิดการสั่นหรือแกว่ง  ความถี่ที่ชิ้นงานสั่นหรือแกว่งนั้นจะเท่ากับความถี่ธรรมชาติ  เช่น  เราออกแรงผลักชิงช้าให้แกว่ง  ความถี่ที่ชิงช้าแกว่งไปมาก็คือความถี่ธรรมชาติของชิงช้าตัวนั้นนั่นเอง

แต่ความถี่ธรรมชาติไม่ได้มีแค่ค่าเดียว  ในความเป็นจริงความถี่ธรรมชาติมีได้เป็นอนันต์ค่า  หรือพูดง่ายๆคือมีเยอะแยะมากมายจนนับไม่ถ้วน  ซึ่งความถี่ธรรมชาติแต่ละค่าจะทำให้ชิ้นงานสั่นไม่เหมือนกัน เช่น ถ้าเราเอาเชือกมาแกว่งที่ความถี่ค่าหนึ่ง  เชือกก็จะสั่นรูปแบบหนึ่ง  ถ้าเราแกว่งให้เร็วขึ้น(เพิ่มความถี่ให้มากขึ้น)  เชือกก็จะสั่นเหมือนมี Loop มากขึ้น  ซึ่งลักษณะการสั่นที่เกิดขึ้นแบบหนึ่งๆ  เราเรียกว่า Mode Shape  ดังนั้นชิ้นงานหนี่งๆก็จะมีหลาย Mode Shape เช่นเดียวกับความถี่ธรรมชาติ
การที่เราออกแรงกระทำจากภายนอก  โดยที่แรงกระทำนั้นมีความถี่ในการสั่นเท่ากับความถี่ธรรมชาติ  ก็จะทำให้ชิ้นงานเกิดการสั่นที่รุนแรงขึ้น  เราเรียกว่า เกิดการสั่นพ้อง (Resonance) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ชิ้นงานเกิดความเสียหายได้  แต่ถ้าหากเราออกแรงกระทำไม่ตรงกับความถี่ธรรมชาติ  การสั่นพ้องก็จะไม่เกิดขึ้น  และชิ้นงานก็ไม่สั่นรุนแรง (ลองนึกถึงกรณีแกว่งเชือก  ถ้าเราแกว่งมั่วๆ  เชือกก็จะไม่ออกมาเป็น loop หรือการแกว่งชิงช้า  ถ้าเราผลักไม่ตรงจังหวะ  ชิงช้าก็จะแกว่งน้อยลง)

ภาพด้านล่างจะแสดงรูปแบบของการสั่นพ้องของแผ่นเหล็กที่ความถี่ต่างกัน  โดยเราสามารถทดลองจริงหรือใช้โปรแกรม SolidWorks Simulation ช่วยในการวิเคราะห์ก็ได้ (รูปภาพการทดลองจริงนำมาจากวีดีโอใน Youtube ตามลิ้งนี้ )
ในโปรแกรม SolidWorks เองก็มีฟังชั่น Frequency ที่ช่วยหาความถี่ธรรมชาติของชิ้นงานที่เราออกแบบ  ซึ่งการนำไปใช้ก็คือ
1. เราต้องรู้ก่อนว่าชิ้นงานที่เราออกแบบจะเอาไปใช้ในสภาวะแบบไหน  เช่น จะออกแบบฝาปิดเครื่องซักผ้า  เราก็ต้องรู้ว่าตอนที่เครื่องซักทำงาน  มีการสั่นที่ความถี่เท่าไร  ผมขอสมมติว่าเครื่องซักผ้ามีการสั่น 30 Hz
2. หลังจากที่รู้สภาวะที่จะนำไปใช้งานแล้ว  เราก็จะรู้ว่าฝาปิดที่ต้องออกแบบ  จะต้องมีความถี่ธรรมชาติไม่เท่ากับ 30 Hz (ความถี่จะมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้  แต่ส่วนใหญ่จะออกแบบให้มากกว่าที่ระบุไว้กัน)  เพื่อหลีกเลี่ยงการสั่นที่รุนแรง  ซึ่งขั้นตอนนี้โปรแกรม SolidWorks Simulation จะเข้ามาช่วยหาความถี่ธรรมชาติให้ได้
3. ถ้าหากวิเคราะห์ออกมาแล้ว  พบว่าความถี่ธรรมชาติของชิ้นงานที่ออกแบบมีค่าเท่ากับ  หรือใกล้เคียงกับ 30 Hz เราก็พอจะสรุปได้ว่าหากนำชิ้นงานนี้ไปใช้งาน  อาจจะเกิดการสั่นรุนแรงได้  ดังนั้นเราก็ต้องแก้ไขโมเดล  เปลี่ยนตำแหน่งจับยึด  เปลี่ยนวัสดุ ฯลฯ เพื่อให้ค่าความถี่ธรรมชาติไม่ตรงกับ 30 Hz

สรุปสิ่งที่ฟังชั่น Frequency ทำได้
1. แสดงค่าความถี่ธรรมชาติของชิ้นงานได้
2. แสดงลักษณะการสั่น (Mode Shape) ที่แต่ละความถี่ธรรมชาติ

สิ่งที่ฟังชั่น Frequency ทำไม่ได้
1. ไม่สามารถแสดงขนาดของการสั่นได้ (ไม่ทราบระยะที่ชิ้นงานโยกไป)  แถบสีที่แสดงระยะที่ชิ้นงานโยกไปในฟังชั่น Frequency ถือว่าไม่มีนัยสำคัญ  เนื่องจากถ้าชิ้นงานสั่นที่ความถี่ธรรมชาติต่อไปเรื่อยๆ  ชิ้นงานก็จะสั่นรุนแรงขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน  จนชิ้นงานเกิดความเสียหายในที่สุด  ดังนั้นเราจึงทราบได้แค่ทิศทางของการสั่น  แต่ไม่ทราบขนาดของการสั่น
2. ไม่สามารถแสดงค่า Stress, Strain จากการสั่นได้  ซึ่งก็เป็นเหตุผลเดียวกับข้อแรก
3. ถ้าหากต้องการทราบค่า Stress, Displacement, Strain จะต้องใช้การวิเคราะห์แบบ Linear Dynamic ซึ่งเป็นอีกฟังชั่นหนึ่งในโปรแกรม SolidWorks Simulation

ถ้าหากใครสนใจเรื่องการวิเคราะห์ความถี่ธรรมชาติ  สามารถสั่งซื้อแผ่นสอน Simulation Professional ได้  ดูรายละเอียดในแผ่นสอน คลิกที่นี่

สอบถามรายละเอียดเพื่มเติมได้ที่
คุณพลวัฒน์ (บอล)  รับวิเคราะห์  ให้คำปรึกษา  และสอนโปรแกรม SolidWorks Simulation
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : SolidWorks Simulation Adviser

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หลักสูตรอบรมการใช้โปรแกรม SolidWorks Simulation สำหรับวิเคราะห์งานโครงสร้าง

คือ หลักสูตรที่เน้นการวิเคราะห์งานเหล็กรูปพรรณที่นำมาประกอบเป็นโครงสร้างต่างๆ เช่น การวิเคราะห์โครงสร้าง Plant, การวิเคราะห์สะพาน, ปัญหางานโครงถัก, โครงรถแข่ง ฯลฯ  โดยเนื้อหาในหลักสูตรจะประกอบไปด้วย
-  การเตรียมโมเดลให้เหมาะกับการวิเคราะห์
-  วิธีการเลือกและใช้งาน Mesh ให้เหมาะกับงานวิเคราะห์
-  วิธีการกำหนดแรงและจุดจับยึดแบบต่างๆ
-  การวิเคราะห์โครงสร้างที่ประกอบกันด้วย Bolt
-  ปัญหาที่มักพบและวิธีแก้ไข

วันที่อบรม

-  วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม 2559  เวลา 9.00-16.00

สถานที่อบรม

คอนโด M phayathai ใกล้ BTS อนุสาวรีย์สมรภูมิ (ห่างกัน 200 เมตร)

ค่าอบรม  3,000 บาท

ขั้นตอนการลงทะเบียน

-  ชำระค่าอบรมโดยโอนเงินมาที่
บัญชี  นายพลวัฒน์   ไพรไพศาลกิจ

  สาขา  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  บางเขน
  - ธนาคารไทยพาณิชย์   เลขบัญชี  235-207904-0
  - ธนาคารกสิกรไทย       เลขบัญชี  694-2-00704-1
- หลังจากโอนเงินแล้ว คลิกที่นี่เพื่อลงทะเบียน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

คุณพลวัฒน์ (บอล)
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วิธีหาแรงทีต้องใช้ดันชิ้นงานให้ได้ระยะที่ต้องการ (List Result Force)

บทความนี้จะขอเสนอวิธีการหาขนาดของแรงที่ต้องใช้เพื่อดันหรือง้างชิ้นงานให้ได้ระยะตามที่ต้องการ  โดยวิธีที่จะกล่าวต่อไปนี้อาจจะทำตรงข้ามกับสิ่งที่เราวิเคราะห์มา  กล่าวคือปกติแล้วเราจะกำหนดแรงกระทำ  แล้วค่อยดูว่าชิ้นงานมีการเสียรูป(Displacement)เท่าไร  แต่คราวนี้สิ่งที่เรารู้คืออยากจะให้ชิ้นงานงอไปเท่านี้  จะต้องใช้แรงเท่าไรนั่นเอง

ในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างงานขึ้นมาตัวนึงเพื่ออธิบายวิธีการละกันนะครับ
งานที่เราจะวิเคราะห์คือ Clip Lock ซึ่งเวลานำไปใช้งาน  ตำแหน่งสลัก(ที่วงกลมสีแดงไว้)จะต้องถูกบีบเข้ามา  ถึงจะเลื่อนไปเข้าล๊อคได้  ซึ่งถ้าเราออกแบบตรงก้านสลักไม่ดี  เวลาชิ้นงานถูกบีบก้านก็จะหัก  ดังนั้นเราจะมาวิเคราะห์กันว่าถ้าก้านสลักถูกบีบเข้ามาแล้ว  จะเกิดความเสียหายหรือไม่
ขั้นแรกเราก็ต้องวัดกันก่อนว่าชิ้นตัวสลักจะต้องถูกบีบเข้ามาเท่าไร  ซึ่งในที่นี้ผมวัดมาให้แล้วว่าต้องถูกบีบเข้ามา 1.5 mm
หลังจากทราบแล้วว่าจะบีบสลักเข้ามาเท่าไร  ก็เข้าไปที่ฟังชั่น Simulation แล้วใช้คำสั่ง Fixture เพื่อกำหนดตำแหน่งและระยะที่เราจะบีบชิ้นงาน  ซึ่งปกติแล้วเรากำหนด Fixture เพื่อให้ชิ้นงานไม่ขยับ  แต่เราสามารถใช้ Fixture เพื่อกำหนดให้ชิ้นงานขยับตามที่เราต้องการได้
สำหรับการกำหนดระยะที่จะดันชิ้นงานก็มีเพียงเท่านี้เองนะครับ  ที่เหลือก็ตั้งค่าตามปกติแล้ว Run ดูผลลัพธ์ได้เลย (ในบทความนี้จะขอลงรายละเอียดไปที่การเทคนิคตามหัวข้อ  จึงขอข้ามการตั้งค่าอื่นๆ เช่น การใส่วัสดุ  การกำหนดจุดจับยึด  และการสร้าง Mesh ไป) 
หลังจากที่เราได้ผลลัพธ์กันมาแล้ว  คราวนี้เราจะมาดูว่าแรงที่ต้องใช้เพื่อดันสลักให้ยุบลงมา 1.5 mm จะต้องใช้แรงเท่าไรกัน  โดยให้เราไปคลิกขวาที่ Result >> เลือก List Result Force
จากนั้นให้เราคลิกเลือกผิวหรือขอบหรือจุดที่เรากำหนด Fixture เพื่อดันชิ้นงานไปในตอนแรก (ตัวอย่างนี้ออกแรงดันที่ขอบ  ดังนั้นจึงคลิกเลือกเส้นขอบ) >> กดปุ่ม Update >> เพียงนี้เราก็จะทราบแรงที่ต้องใช้แล้วนะครับ
สำหรับตัวอย่างข้างต้นเป็นการวิเคราะห์แบบ Static ดังนั้นจึงไม่สามารถวิเคราะห์ถึงขั้นที่ว่า  ต้องใช้แรงเท่าไรในการดันสลักตัวนี้ให้เข้าล็อค  แต่ถ้าใช้การวิเคราะห์แบบ Non-linear ก็สามารถทำงานตามที่ว่าได้นะครับ  โดยโปรแกรมจะแสดงผลออกมาเป็นกราฟให้เลยว่าต้องใช้แรงดันเท่าไรบ้าง
จากรูป  เราจะเห็นกราฟสีแดง  ซึ่งแดงขนาดของแรงดันที่ต้องใช้ดันด้านท้ายของ Clip Lock ซึ่งจะเห็นว่าต้องใช้แรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดสูงที่สุด Clip Lock ก็ลงร่องพอดี  แรงที่ใช้ดันก็จะกลับไปเป็นศูนย์

ผมก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับหลายๆท่านได้นำไปใช้งานกันนะครับ

สอบถามรายละเอียดเพื่มเติมได้ที่
คุณพลวัฒน์ (บอล)  รับวิเคราะห์  ให้คำปรึกษา  และสอนโปรแกรม SolidWorks Simulation
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : SolidWorks Simulation Adviser

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สอนวิเคราะห์ Spring แบบ Non-linear

ผมเคยอธิบายความแตกต่างระหว่างงานวิเคราะห์แบบ Static และ Non-linear กันไปบ้างแล้ว  คราวนี้ลองมาดูวิธีการใช้งานฟังชั่น Non-linear กันบ้างนะครับ  ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะละเอียดกว่าการวิเคราะห์ด้วยฟังชั่น Static เพราะเราจะได้ผลลัพธ์ทุกๆช่วงเวลาที่เราใส่แรงกระทำลงไป  ส่วนเรื่องการใช้งานก็ลองดูในวีดีโอกันได้เลยครับ


หากข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่

คุณพลวัฒน์ (บอล)  รับวิเคราะห์  ให้คำปรึกษา  และสอนโปรแกรม SolidWorks Simulation
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : SolidWorks Simulation Adviser

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ทำไมวิเคราะห์ Motion Analysis แล้ว Motor มีแรงเป็น 0 (How to define friction in Motion Analysis?)

มีคำถามที่หลายๆคนถามผมมาว่า  ทำไมลองวิเคราะห์ Motion แล้วแรงบิดของมอเตอร์ที่ใช้ถึงน้อยมากหรือบางทีก็เป็น 0 ไปเลย  จึงได้เรื่องมาเขียนเป็นบทความนี้ขึ้นมานะครับ

ขั้นแรกเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าแรงบิดที่มอเตอร์ต้องใช้เพื่อขยับระบบกลไกต่างๆ  จะต้องไปสู้กับแรงต่างๆ เช่น น้ำหนัก  แรงดัน  หรือแรงบิดที่มาจากภายนอก  และที่สำคัญที่สุดคือแรงเสียดทาน
แรงเสียดทานจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักที่มีทิศทางตั้งฉากกับผิวสัมผัส  ดังนั้นเราจะเห็นว่ายิ่งของหนัก  เราก็ต้องยิ่งออกแรงเพื่อสู้กับแรงเสียดทานมากขึ้น เช่น ออกแรงดันรถเก๋งกับรถบรรทุก  รถบรรทุกที่หนักกว่าก็ต้องใช้แรงเยอะกว่าถึงจะดันให้เคลื่อนที่ได้

คราวนี้เราลองมาดูในโปรแกรม SolidWorks กันบ้าง  สมมุติว่าเราจะเขียนโมเดลรถและถนน  จากนั้นก็เอามาประกอบกันใน Assembly โดยกำหนด Mate ระหว่างล้อรถกับพื้นถนนเพื่อให้ล้ออยู่ชิดกับถนนพอดี  ซึ่งการทำแบบนี้คือสาเหตุที่ทำให้มอเตอร์ที่เรากำหนดเพื่อดันรถมีค่าเป็น 0  เพราะว่าหากเรากำหนด Mate ที่จุดใดก็ตาม  ตรงจุดที่เรากำหนดนั้นจะมีค่าแรงเสียดทานเป็น 0 (ยกเว้นว่าเรากำหนดในฟังชั่น Mate ว่าให้คิดแรงเสียดทานด้วย)  พอไม่มีแรงเสียดทานทำให้เราแทบไม่ต้องออกแรง  เราก็สามารถดันรถให้เคลื่อนที่ได้

วิธีการแก้ไข

ผมขอแยกเป็น 2 กรณีดังนี้นะครับ
1. กรณีที่เราสามารถปิดคำสั่ง Mate และใช้การกำหนด Contact แทน
     - วิธีนี้จะได้ความแม่นยำมากที่สุด  เนื่องจากเราสามารถกำหนดค่าสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทานสถิตย์(ค่าแรงเสียดทานตอนที่ชิ้นงานยังอยู่นิ่ง)  และแรงเสียดทานจลน์(ค่าแรงเสียดทานตอนที่ชิ้นงานเริ่มขยับไปแล้ว  ซึ่งปกติจะมีค่าน้อยกว่าค่าสัมประสิทธ์แรงเสียดทานสถิตย์ นึกถึงตอนเข็นรถ  แรงที่ใช้เพื่อให้รถเริ่มเคลื่อนที่จะมากกว่าแรงที่ใช้ตอนรถขยับได้แล้ว)
     - ข้อดี คือ กำหนดได้ง่าย  และผลลัพธ์ค่อนข้างเสมือนจริง  เพราะโปรแกรมจะตรวจสอบจุดสัมผัสจริง
     - ข้อเสีย คือ จะใช้เวลาวิเคราะห์ค่อนข้างนาน  เพราะโปรแกรมต้องคอยตรวจสอบจุดที่ชิ้นงานสัมผัสกัน

2. กรณีที่เรากำหนดค่าสัมประสิทธ์แรงเสียดทานที่คำสั่ง Mate
     - วิธีนี้จะกำหนดค่าสัมประสิทธ์แรงเสียดทานได้แค่ค่าเดียว  ดังนั้นถ้าเรากำหนดค่าสัมประสิทธ์แรงเสียดทานสถิตย์  ผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ  มอเตอร์จะใช้กำลังมากกว่าความเป็นจริง(แต่ก็ถือเป็นข้อดี  เพราะมีการเผื่อเหลือเผื่อขาดเอาไว้)
     - ข้อดี คือ คำนวณได้เร็ว  เพราะในการกำหนดเราจะข้อมูลแต่ละอย่างเป็นตัวเลขไว้แล้ว  ไม่ว่าจะเป็นค่าสัมประสิทธ์แรงเสียดทานและพื้นที่ที่สัมผัส  ดังนั้นโปรแกรมจึงใช้การประมวลผลน้อยกว่าแบบแรก
     - ข้อเสีย คือ ต้องเข้าไปกำหนดใน Mate แต่ละอัน  ดังนั้นหากมี Mate จำนวนมาก  ก็ต้องใช้เวลาในการกำหนดค่าเยอะ

สรุปคือถ้าเราต้องการทราบแรงมอเตอร์ที่ต้องใช้งานจริงๆ  ก็จะต้องมีการคิดเรื่องแรงเสียดทานเข้าไปด้วย  โดยสำหรับบางงานเรื่องแรงเสียดทานเป็นเรื่องหลักที่เรามอเตอร์เราต้องออกแรงสู้ เช่น การหาขนาดของมอเตอร์สำหรับแท่นหมุน(ผมเจอคำถามงานนี้ค่อนข้างบ่อย)  การหาแรงผลักชิ้นงานให้เคลื่อนที่บนทางราบ  การหามุมเอียงที่ทำให้ชิ้นงานเริ่มเลื่อนไถลลงมา เป็นต้น  สำหรับเรื่องพวกนี้เราอาจจะต้องกำหนดแรงเสียดทานกันให้ครบ

แต่สำหรับงานบางอย่าง เช่น การหาแรงบิดมอเตอร์ที่ขับเคลื่อนเกียร์ต่างๆ  การวิเคราะห์พวกแม่แรง(มีระบบกลไกเป็นตัวช่วย  ไม่ได้ใช้แรงมอเตอร์ไปยกชิ้นงานตรงๆ) ฯลฯ พวกระบบแบบนี้อาจจะไม่ต้องกำหนดแรงเสียดทาน  เพราะถ้าจะทำจริงอาจจะค่อนข้างเหนื่อยเพราะมีการจุดที่เรา Mate หลายๆจุดมาก  ผมแนะนำว่าให้เราคำนวณกำลังมอเตอร์ที่ใช้  แล้วค่อยคูณ factor เพื่อทดแทนแรงเสียดทานไป เช่น คำนวณจาก Motion Analysis พบว่าต้องใช้มอเตอร์กำลัง 100 W  เราอาจจะเผื่อไว้ว่ามีแรงเสียดทานอยู่ 20%  ดังนั้นเราต้องหามอเตอร์กำลัง 100X1.2 = 120 W มาใช้ เป็นต้น

สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาการใช้งานโปรแกรม SolidWorks Motion Analysis ก็สามารถสั่งซื้อแผ่นสอนไปเรียนรู้ด้วยตัวเองได้นะครับ

รายละเอียดในแผ่นสอน Motion Analysis คลิกที่นี่

แผ่นสอน SolidWorks Simulation อื่นๆ คลิกที่นี่

ขั้นตอนการสั่งซื้อ  คลิกที่นี่

สอบถามรายละเอียดเพื่มเติมได้ที่
คุณพลวัฒน์ (บอล)  รับวิเคราะห์  ให้คำปรึกษา  และสอนโปรแกรม SolidWorks Simulation
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : SolidWorks Simulation Adviser

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คอร์สสอน SolidWorks Simulation เบื้องต้น (รอบ 2)

คือ หลักสูตรอบรมการใช้งานฟังชั่น SolidWorks Simulation 1 วัน เพื่อปูพื้นฐานสำหรับงานวิเคราะห์ซึ่งมีอยู่หลากหลาย Module ได้แก่
1. Strength Analysis คือ การวิเคราะห์ความแข็งแรงของชิ้นงานทั้ง Part และ Assembly โดยใช้กระบวนการทาง FEA ซึ่งเราจะทราบตำแหน่งที่เกิดความเสียหายของชิ้นงาน การบิดงอ รวมถึงค่าความปลอดภัยของชิ้นงานด้วย
2. Motion Analysis คือ การวิเคราะห์ระบบกลไก เพื่อการลักษณะการเคลื่อนที่ ความเร็ว ความเร่งของเครื่องจักรที่เราออกแบบ รวมถึงแรงบิด กำลังมอเตอร์ ฯลฯ เพื่อช่วยออกแบบสำหรับการสร้างเครื่องจักร
3. Flow Simulation คือ การวิเคราะห์พฤติกรรมของของไหล เช่น ความเร็ว อุณหภูมิ ความดัน ความหนาแน่น ฯลฯ ช่วยให้เรามองเห็นการคุณลักษณะของของไหลได้ง่ายขึ้น

ค่าใช้จ่ายในการอบรม

2,000 บาท/ท่าน

วันที่อบรม

- วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม 2558 เวลา 9.00-16.00

สถานที่อบรม


คอนโด M phayathai ห่างจากสถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์สมรภูมิ 200 เมตร

จำนวนที่รับสมัคร

6 ท่าน

ขั้นตอนการลงทะเบียน

- ชำระค่าอบรมโดยโอนเงินมาที่
    บัญชี นายพลวัฒน์ ไพรไพศาลกิจ
    สาขา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
    ธนาคารไทยพาณิชย์ เลขบัญชี 235-207904-0
    ธนาคารกสิกรไทย เลขบัญชี 694-2-00704-1
- หลังจากโอนเงินแล้ว คลิกที่นี่เพื่อลงทะเบียน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม


คุณพลวัฒน์ (บอล)
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com

***ผู้เรียนจะต้องนำคอมพิวเตอร์มาด้วยตนเอง และมีการลงโปรแกรม SolidWorks มาล่วงหน้าเพื่อความสะดวกในการอบรม (แนะนำลงโปรแกรมเวอร์ชั่น 2011 ขึ้นไป)***

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เทคนิค Run งานหลายๆเคสใน Flow Simulation (Batch Run)

บางครั้งเราต้องวิเคราะห์งานหลายโมเดล  ซึ่งงานตัวนั้นอาจจะเป็นชิ้นงานเดิม  แต่มีการเปลี่ยนแปลงในบางจุดดัง  ซึ่งถ้าเราจะวิเคราะห์งานที่แตกต่างกัน  ก็ต้องเสียเวลามาตั้งค่า >> กด Run >> รอโมเดลรันเสร็จ >> เปิดโมเดลใหม่ >> ตั้งค่า >> กด Run >> รอโมเดลรันเสร็จ  แล้ว Loop การทำงานก็จะวนแบบนี้ไปเรื่อยๆ  ยิ่งถ้าเรามีหลายโมเดล  เรายิ่งเสียเวลาอย่างมาก  เพราะต้องมานั่งคอยว่าเมื่อไรจะรันเสร็จ  จะได้เปิดโมเดลใหม่ขึ้นมา  ดังนั้นในบทความนี้จะมาช่วยแก้ปัญหาจากการต้องนั่งรอรันจนเสร็จแล้วค่อยเปิดโมเดลใหม่  มาเป็นการกำหนดให้โปรแกรมล่วงหน้าเลยว่าจะรันโมเดลไหนบ้าง  แล้วให้โปรแกรมเปิดโมเดลเอง >> รันเอง >> Save เอง  ทำให้เราไม่ต้องมานั่งเฝ้าคอมพิวเตอร์กันอีก  โดยผมจะขอยกตัวอย่างการวิเคราะห์วาล์วดังรูปต่อไปนี้
ชิ้นงานคือท่อน้ำต่อเชื่อมผ่านวาล์วตัวหนึ่ง  ซึ่งเราต้องการวิเคราะห์ว่าถ้าวาล์วมีการเปิดมากหรือน้อย  พฤติกรรมของน้ำที่ไหลอยู่ในท่อจะเป็นอย่างไรบ้าง  ดัวรูปด้านล่าง

ซึ่งในการกำหนดให้ Flow Simulation สามารถรันได้หลายๆเคสเองจะมีขั้นตอนดังนี้

วิธีการรันงานหลายๆเคส

1. เตรียมโมเดลที่วาล์วเปิดมากหรือน้อยโดยทำเป็น Configuration ไว้ (คือการทำให้ไฟล์ 1 ไฟล์มีโมเดลได้หลายหน้าตา)
2. ในแต่ละ Configuration ให้เราตั้งค่าการวิเคราะห์ Flow ไว้ล่วงหน้าเลย  ตัวอย่างในการนี้การตั้งค่าจะเหมือนกันทุกอย่าง  แต่ต่างกันที่โมเดลเท่านั้น  เราก็สามารถใช้คำสั่ง Clone Project เพื่อก๊อปปี้การตั้งค่ามาได้เลย  ทำให้เราไม่ต้องการกำหนดค่าแบบเดิมๆ ซ้ำ
3. สำหรับ SW เวอร์ชั่น 2015 ขึ้นไป เมนู Flow Simulation จะซ่อนอยู่ในเมนู Tool ก็ให้เราเข้าไปที่ Tool >> Flow Simulation >> Solve >> Batch Run
4. โปรแกรมจะเด้งหน้าต่างสำหรับถามว่าเราจะสร้าง Mesh หรือจะ Run งานใน Configuration อันไหนบ้าง  เราก็เลือกได้เลย  หรือจะเลือกทั้งหมดก็ได้  เสร็จแล้วกด Run
5. โปรแกรมจะรันโดยเรียงลำดับตาม Configuration ที่อยู่ในตารางไปทีละอัน  เมื่อรันเสร็จก็จะ Save งานที่รันเสร็จเอง  และเปิดงานใหม่ขึ้นมาโดยอัตโนมัติ  ที่เหลือก็แค่ปล่อยให้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ไป  แล้วเราก็ไปทำอย่างอื่นได้โดยไม่ต้องนั่งเฝ้าคอมพิวเตอร์

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับบทความนี้  สำหรับเทคนิคนี้ก็ต้องขอบคุณงานวิเคราะห์เครื่องบินที่ผมกำลังทำอยู่ในช่วงนี้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  และกรมช่างทหารอากาศที่ผมมีโอกาสได้เข้าไปนำเสนองาน  ทำให้ผมทราบว่ามีคนที่ต้องการเทคนิคตรงส่วนนี้อยู่  หากใครมีคำถามอะไรดีๆก็ลองส่งเข้ามาถามได้นะครับ  เพื่อเป็นประโยชน์กับตัวท่านเองและคนอื่นๆนะครับ

ส่วนใครที่ต้องการเรียนรู้โปรแกรม SolidWorks Flow Simulation เพิ่มเติมก็สามารถสั่งซื้อแผ่นสอนไปเรียนรู้ด้วยตัวเองได้นะครับ

รายละเอียดในแผ่นสอน SolidWorks Flow Simulation คลิกที่นี่

แผ่นสอน SolidWorks Simulation อื่นๆ คลิกที่นี่

ขั้นตอนการสั่งซื้อ  คลิกที่นี่

สอบถามรายละเอียดเพื่มเติมได้ที่
คุณพลวัฒน์ (บอล)  รับวิเคราะห์  ให้คำปรึกษา  และสอนโปรแกรม SolidWorks Simulation
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : SolidWorks Simulation Adviser

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

What new SolidWorks Simulation 2016

ตอนนี้โปรแกรม SolidWorks เวอร์ชั่น 2016 ก็ออกมาอย่างเป็นทางการแล้วนะครับ  ซึ่งในทุกๆเวอร์ชั่นก็จะเพิ่มความสามารถหรือลูกเล่นต่างๆมากมาย  เราลองมาดูกันว่าในเวอร์ชั่นล่าสุดนี้มีอะไรใหม่ๆกันบ้างนะครับ

สำหรับ SolidWorks Simulation 

1. Blended Curvature-based Mesher
    คือกระบวนการสร้าง Mesh แบบใหม่ที่ทำให่ Mesh บนผิวชิ้นงานมีคุณภาพสูงขึ้น  โดยเฉพาะงานบางงานที่อาจจะใช้ Standard Mesh หรือ Curvature Base Mesh สร้างไม่ได้  ก็ลองใช้ Mesh ตัวใหม่ดูอาจจะสร้าง Mesh ได้นะครับ

2. Automatic Bonding for Shells
     ในเวอร์ชั่นก่อนๆ การกำหนดชิ้นงานใน Assembly ให้เชื่อมกัน(ฺBond Contact) ของคำสั่ง Global Contact จะทำได้แค่บริเวณที่ผิวของชิ้นงานอยู่ชิดกันพอดี  ถ้าโมเดลที่เราวาดขึ้นมามีช่องว่างเล็กอยู่  เราก็ต้องใช้ Contact Set เพื่อกำหนดค่ากันเอง (ใครยังไม่เข้าใจเรื่อง Contact สามารถศึกษาได้ในบทความ "ชนิดของ Contact สำหรับวิเคราะห์งาน Assembly")  แต่ในเวอร์ชั่น 2016 มีการพัฒนาความสามารถของ Global Contact ให้ตรวจสอบผิวที่อยู่ห่างกัน  และยังตรวจสอบชิ้นงานที่เป็น Shell Mesh (ชิ้นงานบางๆ)ได้อีกด้วย  ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลากำหนด Contact Set กันเองแบบเมื่อก่อน

3. Bolts and Pins on the Same Part
     สามารถใช้คำสั่ง Pin หรือ Bolt บนชิ้นงานเดียวกันได้แล้ว  จากเดิมเวลาที่เราจะกำหนด Pin หรือ Bolt โปรแกรมจะมองว่าเราต้องการยึดชิ้นงาน 2 ชิ้นให้อยู่ด้วยกัน  แต่ในบางครั้งเราก็ต้องการใส่ Pin หรือ Bolt บนงานชิ้นเดียว  ในเวอร์ชั่น 2016 จึงแก้ไขคำสั่งในจุดนี้แล้ว


4. Controlling Values and Display of Maxima and Minima on Contour Plots
     การแสดงเฉดสีในเวอร์ชั่นก่อน  ถ้าค่า Stress หรือ Displacement บนชิ้นงานมีค่ามากกว่าค่า Maximum บนแถบสี  เวลาที่โปรแกรมแสดงเฉดสีบนชิ้นงานก็จะเป็นสีแดงทั้งหมด  หรือถ้าค่าบนชิ้นงานน้อยกว่าค่า Minimum บทแถบสี  เฉดสีบนชิ้นงานก็จะเป็นสีน้ำเงินทั้งหมด  แต่ในเวอร์ชั่น 2016 ได้เพิ่มฟังชั่นการแสดงเฉดสีบนชิ้นงาน  โดยทำให้ค่าที่มากหรือน้อยเกินกว่าแถบสี  สามารถที่จะไม่แสดงเฉดสีได้  ทำให้การดูเฉดสีบนชิ้นงานง่ายขึ้น  ไม่ต้องสับสนกับสีแดงหรือน้ำเงินทั้งชิ้นงาน

5. Detecting Unconstrained Bodies
     สำหรับคนที่วิเคราะห์งาน Assembly ใหม่ๆน่าจะเคยเจอ Error ที่บอกว่า "Model is unstable" ซึ่งผมเคยอธิบายถึงสาเหตุของ Error ไปแล้วในบทความ "สาเหตุและการแก้ปัญหา Error "Model is unstable. Check that you have applied adequate fixture to stabilize the model."  ทีนี้การแก้ปัญหาของเรา  ถ้าใครมีฟังชั่น Frequency ก็สามารถใช้ฟังชั่นนี้ตรวจสอบได้  แต่ถ้าไม่มีเราก็ต้องมาตรวจสอบโมเดลว่าชิ้นงานไหนที่เรา Fixture หรือ Contact ไม่ดีพอ  ซึ่งอาจจะค่อนข้างเสียเวลาถ้ามีชิ้นงานจำนวนมาก  ดังนั้นเวอร์ชั่น 2016 จึงออกตัวช่วยตรวจหาชิ้นงานที่ยังกำหนด Fixture หรือ Contact ไม่เพียงพอมาให้

6. Display Results for Remote Mass and Remote Load
     สำหรับการวิเคราะห์งานที่มีการสั่นสะเทือน(Vibration) เช่น เราจะวิเคราะห์ฐานรับน้ำหนักเครื่องจักร  ในการวิเคราะห์เราก็อาจจะใช้คำสั่ง Remote Load ซึ่งเป็นฟังชั่นที่เราสามารถกำหนดจุด CG และน้ำหนักของเครื่องจักรกดลงไปบนฐานรับน้ำหนักได้  โดยที่เราไม่ต้องวาดชิ้นงานจริงๆ ทำให้ลดเวลาในการวิเคราะห์ลงไปมาก  แต่ในเวอร์ชั่นก่อนเมื่อเราวิเคราะห์แล้ว  เราก็จะทราบแค่ฐานมีการสั่นมากน้อยแค่ไหน  แต่ไม่สามารถดูได้ว่าเครื่องจักรที่อยู่บนฐานสั่นแค่ไหน(เพราะเราไม่ได้วาดชิ้นงานจริง  เลยไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ได้)  ดังนั้นในเวอร์ชั่น 2016 จึงเพิ่มความสามารถในการวัดผลลัพธ์ที่จุด CG ที่เรากำหนด  ทำให้เราทราบได้ว่าจุด CG ที่เรากำหนดแทนเครื่องจักรมีการสั่นมากน้อยแค่ไหน

7. Equation-driven Results
     การแสดงผลของ Result ในเวอร์ชั่นก่อนๆจะถูกกำหนดมาในโปรแกรมว่ามีค่าอะไรบ้าง เช่น Normal Stress, Von Mises Stress, X Displacement, Y Displacement ฯลฯ ทำได้เราสามารถแสดงผลได้แค่เท่ามีในโปรแกรม  แต่ในเวอร์ชั่น 2016 ได้เพิ่มลูกเล่นสำหรับ Result โดยให้เราเขียนสมการเพื่อคำนวณผลลัพธ์ที่เราต้องการเองได้ เช่น  เราอยากได้ผลลัพธ์ของมุมชิ้นงานที่ถูกบิดมีหน่วยเป็นองศา  จากเวอร์ชั่นก่อนเราจะต้องคำนวณเองในแต่ละจุดที่ต้องการ  แต่ในเวอร์ชั่นใหม่  เราก็ใส่สูตรคำนวณมุมบิดและให้โปรแกรมแสดงผลให้เราได้ทุกจุดบนชิ้นงาน  พร้อมมีเฉดมีให้เราอีกด้วย (ผมเคยแสดงวิธีคำนวนมุมบิดให้ในบทความ "การหามุมบิดของชิ้นงาน")

8. Improved Solver Error Messages
     เวลาที่เราวิเคราะห์งานแล้วพบ Error เราก็ต้องมาหาว่าจะแก้ Error นี้ยังไง  โดยอาจจะถามคนที่มีความรู้  หาในอินเตอร์เน็ตเอง ฯลฯ  ซึ่งอาจจะยุ่งยากเพราะต้องใช้เวลากว่าจะหาคำตอบเจอ  ในเวอร์ชั่น 2016 จึงเพิ่มในส่วนของ Link เพื่อตอบคำถามว่า Error นี้เกิดจากอะไรและแก้ไขได้อย่างไร  ทำให้เราเจอคำตอบที่ถูกต้องได้ง่ายขึ้น (ใช้ได้สำหรับคนที่ซื้อ License SolidWorks และมี Account สำหรับเข้า www.solidworks.com เท่านั้น)

9. Releasing Prescribed Displacements
     ในเวอร์ชั่น 2016 สามารถปิดการทำงานของ Fixture ได้  ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากในการตั้งค่าการวิเคราะห์งานที่ต้องการดันหรือดึงชิ้นงาน  และปล่อยชิ้นงานให้มีการเคลื่อนที่อย่างอิสระ เช่น ในบทความ "Spring back Analysis" ที่ผมต้องกดชิ้นงานและปล่อยเพื่อให้เกิดการคืนตัวของชิ้นงาน  ซึ่งในบทความนั้นผมได้สร้างชิ้นงานก้อนสี่เหลี่ยมเพื่อเป็นตัวกด  เพราะในเวอร์ชั่นก่อนเราไม่สามารถกำหนด Fixture เพื่อกดชิ้นงานและปล่อยได้(ต้องกำหนดตลอดงานวิเคราะห์ซึ่งทำให้ผลลัพธ์ไม่ถูกต้อง)

10. Report Publish Options
     การสร้าง Report ของเวอร์ชั่น 2016 สามารถเลือกขนาดกระดาษได้ว่าจะเป็น A4(8.27" X 11.69") หรือเป็น Letter (8.5" x 11")

11. Sectioning the Mesh
     เวอร์ชั่น 2016 การสามารถทำ Section ของ Mesh ได้  ทำให้เราสามารถมองเห็นเนื้อในของชิ้นงานว่า Mesh มีความละเอียดเดียงพอหรือไม่  โดยสามารถดูแค่ Mesh อย่างเดียว  หรือดูค่าผลลัพธ์ เช่น Stress, Displacement ฯลฯ ก็ได้

ในส่วนของ Simulation ก็เพิ่มมาไม่น้อยทีเดียวนะครับ  แต่ยังไม่หมดแค่นี้  เพราะยังมี Flow Simulation อยู่อีก  ซึ่งผมจะมาอัพเดตให้อีกทีหนึ่งนะครับ


วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Mate Lock ผู้ช่วยงานวิเคราะห์ Motion สำหรับยกของ

ในบทความนี้จะขอแนะนำ Tip Trick สำหรับงานวิเคราะห์ Motion กันบ้างนะครับ  โดยโจทย์สำหรับหัวข้อนี้คือ  เราจะทำอย่างไรให้สามารถสร้างภาพ Animation ชิ้นงานที่มีการยกของกันได้  โดยตัวช่วยสำหรับงานนี้ที่จะแนะนำคือ การทำ Mate ชิ้นงานแบบ Lock นั้นเอง

Mate Lock คืออะไร

Mate Lock คือ Mate ที่ทำให้ชิ้นงานที่เราเลือกติดไปด้วยกัน  โดยจะรักษาระยะห่างตอนที่เราเริ่มกำหนด Mate เอาไว้  เช่น  ถ้าตอนที่เรากำหนด Mate ชิ้นงานทั้ง 2 ชิ้นอยู่ห่างกัน 50 mm  เมื่อกำหนด Mate ไปแล้ว  ชิ้นงานก็จะรักษาระยะห่าง 50 mm ไว้ตลอด  เสมือนกับเป็นชิ้นงานเดียวกัน

การใช้งานใน Motion Analysis

สำหรับการกำหนดให้เครื่องจักรของเรายกของได้  คือการกำหนด Mate Lock ในช่วงเวลาที่เหมาะสม  เพื่อชิ้นงานที่จะยก  ติดขึ้นมาพร้อมกับหัวจับชิ้นงาน  โดยเราสามารถกำหนดการเปิดปิดการทำงานของ Mate ได้ใน Time line
จะเห็นว่าเทคนิคง่ายๆนี้สามารถช่วยลดระยะเวลาในการคำนวณได้อย่างมาก  เพราะถ้าเราใช้การสร้าง Contact เพื่อให้แขนกลยกชิ้นงานได้ด้วยแรงเสียดทานระหว่างตัวแขนจับกับชิ้นงาน  โปรแกรมจะต้องคำนวณนานหรือบางครั้งอาจจะวิเคราะห์ไม่ได้เลย  แต่ถ้าใช้เทคนิกนี้  นอกจากจะสามารถรันได้ง่ายแล้ว  เรายังสามารถหาทอร์คหรือกำลังของมอเตอร์ที่ใช้ยกของได้เหมือนกับเวลาเรากำหนด Contact อีกด้วย

สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่องงานวิเคราะห์ Motion  สามารถสั่งซื้อแผ่นสอนเพื่อศึกษาด้วยตัวเองได้เช่นกัน (โมเดลตัวนี้อยู่ในแผ่นสอนด้วยนะครับ)

รายละเอียดในแผ่นสอน Motion Analysis คลิกที่นี่

แผ่นสอน SolidWorks Simulation อื่นๆ คลิกที่นี่

ขั้นตอนการสั่งซื้อ  คลิกที่นี่

สอบถามรายละเอียดเพื่มเติมได้ที่
คุณพลวัฒน์ (บอล)  รับวิเคราะห์  ให้คำปรึกษา  และสอนโปรแกรม SolidWorks Simulation
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : SolidWorks Simulation Adviser

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การแก้ปัญหา Add in Simulation หาย

ใครที่อัพเดตโปรแกรม SolidWorks หรือลงโปรแกรมใหม่ช่วงนี้อาจจะพบปัญหาที่พอเข้าไปใน Add in ของ SolidWorks แล้วพบว่า Add in ที่ควรจะมีให้เลือกไม่ว่าจะเป็น Simulation, Motion, Flow หรือแม้แต่ Addin ของทาง SolidWorks เองเช่น Photoview, ScanTo3D, Routiog ฯลฯ กลับหายไปหมดเลย  เราจะมีวิธีแก้ไขอย่างไรลองมาดูกันนะครับ

สาเหตุของปัญหา

ปัญหานี้เกิดจากตัวอัพเดตของ Windows ชื่อ KB3072630 ถ้าหากเครื่องของใครลงตัวอัพเดตนี้ไปแล้ว  จากนั้นค่อยมาลงโปรแกรม SolidWorks ทีหลังจะเจอปัญหา Add in หายไปนะครับ  วิธีการตรวจสอบว่าเครื่องของเราลงตัวอัพเดตนี้หรือยังก็ให้เข้าไปที่ Control Panel >> Programs ans Features และดูตามภาพได้เลย

วิธีแก้ปัญหา

1. Uninstall โปรแกรม SolidWorks ออกก่อน(สำหรับคนที่ลงโปรแกรมและเจอปัญหานี้ไปเรียบร้อยแล้ว)
2. หลังจากลบโปรแกรม SolidWorks ออกแล้ว  หรือใครที่ยังไม่ได้ลงโปรแกรมก็ทำตามขั้นตอนนี้ได้เลยคือ  โหลดไฟล์สำหรับปิดการทำงานของตัว KB3072630 ที่นี่
3. แตกไฟล์ Zip ที่ดาวน์โหลดมา  จะเจอไฟล์ 2 อันดังรูป
4. ดับเบิ้ลคลิกที่ "before_install_KB3072630"  จากนั้นตอบ Yes เพื่อปิดการทำงานของตัวอัพเดตนี้ก่อน
5. ลงโปรแกรม SolidWorks ตามปกติ
6. กลับมาที่ไฟล์ Zip ที่แตกไว้  ดับเบิ้ลคลิกที่ "After_install_KB3072630"  จากนั้นตอบ Yes เพื่อเปิดการทำงานของตัวอัพเดตอีกครั้ง
เพียงเท่านี้โปรแกรม SolidWorks ก็จะกลับมามี Add in ตามปกติอีกครั้ง

สำหรับใครที่ต้องการเรียนรู้โปรแกรม SolidWorks Simulation ตั้งแต่พื้นฐานจนถึงขั้นสูง  สามารถสั่งซื้อแผ่นสอนไปเรียนรู้ด้วยตัวเองได้
ดูรายละเอียดของแผ่นสอน  คลิกที่นี่
ดูขั้นตอนการสั่งซื้อ  คลิกที่นี่

สอบถามรายละเอียดเพื่มเติมได้ที่
คุณพลวัฒน์ (บอล)  รับวิเคราะห์  ให้คำปรึกษา  และสอนโปรแกรม SolidWorks Simulation
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : SolidWorks Simulation Adviser

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ขอบเขตความสามารถของ Flow Simulation

โปรแกรม SolidWorks Flow Simulation ถูกออกแบบมาเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน  ทำให้ในบางครั้งหรือบางงานอาจจะตอบโจทย์งานวิเคราะห์ได้ไม่หมด  เนื่องจากยังไม่มีสมการที่จะคำนวณในปัญหานั้นๆได้

ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่างานอะไรบ้างที่ SolidWorks Flow Simulation ไม่สามารถทำได้ (ขอบอกสิ่งที่ทำไม่ได้ละกันนะครับ  เพราะสิ่งที่ทำได้มันเยอะมาก)

1. ไม่สามารถวิเคราะห์งาน Free Surface ได้ (Update : SolidWorks Flow Simulation 2018 ขึ้นไปสามารถวิเคราะห์งาน Free surface ได้แล้ว)

งานที่ของไหลคนละสถานะสัมผัสกันโดยตรง เช่น ผิวน้ำทะเล  เราไม่สามารถวิเคราะห์ดูคลื่น  หรือดูน้ำกระเซ็นออกมาจากผิวน้ำได้  แต่ถ้าของไหลคนละสถานะ  มีโมเดลที่ Solid มาคั่นกลาง เช่น Heat Exchanger ที่มีการแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างน้ำและอากาศ  ของไหลทั้ง 2 อย่างมีการไหลอยู่คนละท่อ  ดังนั้นผิวของของไหลทั้งสองไม่ได้สัมผัสกันโดยตรง  จึงสามารถวิเคราะห์ได้

2. ไม่สามารถวิเคราะห์การเปลี่ยนสถานะได้

ในบางครั้งงานของเราอาจจะได้รับความร้อนจนของแข็งหลอมเหลวเป็นของเหลว  หรือของเหลวกลายเป็นไอ  เราจะไม่สามารถวิเคราะห์ได้โดยตรงว่าของไหลของเรามีการหลอมเหลวหรือระเหยไปเท่าไรแล้ว  แต่เราสามารถคำนวณคร่าวๆได้ว่าจะเกิดการเปลี่ยนสถานะหรือไม่โดย
- ของเหลวกลายเป็นไอ  ดูค่าเอนโทรปีของของไหลที่เราวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกราฟในการเปลี่ยนสถานะ (ขอพูดเป็นคอนเซ็ปการใช้งานนะครับ  ใครต้องเรารู้วิธีใช้แบบจริงจังก็ลองศึกษาเรื่อง Heat Transfer กันดู)
- ของแข็งเป็นของเหลว  ค่าวัสดุของของแข็งใน Flow Simulation  จะมีช่องให้กำหนดอุณหภูมิหลอมเหลวเอาไว้ด้วย  ถ้าเราวิเคราะห์งานไปแล้วโปรแกรมพบว่าเกิดความร้อนสูงกว่าที่กำหนดในค่าวัสดุ  โปรแกรมจะมีการเตือนขึ้นมาเองว่าชิ้นงานของเราหลอมเหลวแล้ว

3. ไม่สามารถวิเคราะห์ชิ้นงานที่มีการเคลื่อนไหวได้
ถ้าในขณะที่วิเคราะห์ของไหลมีชิ้นงาน Solid ที่ขยับอยู่  เราจะไม่สามารถวิเคราะห์งานลักษณะนี้ได้  ยกเว้นชิ้นงานนั้นมีการเคลื่อนที่แบบหมุน  ยกตัวอย่างเช่น
- วิเคราะห์น้ำมันไหลไปมาในโช้คน้ำมัน  แบบนี้ทำไม่ได้
- วิเคราะห์กังหันลมว่า  ถ้าความเร็วลมเท่านี้  กังหันจะหมุนด้วยความเร็วเท่าไร  แบบนี้ทำไม่ได้ (ถึงแม้จะเป็นชิ้นงานหมุน  แต่การดูพฤติกรรมของ Solid ว่าเคลื่อนที่ไปอย่างไรถ้ามีของไหลมาดัน  ยังไม่สามารถวิเคราะห์ได้)
- วิเคราะห์ใบพัดของปั๊มน้ำว่า  ถ้าใบพัดหมุนด้วยความเร็วเท่านี้  จะสร้าง Volume Flow Rate ได้เท่าไร  แบบนี้ทำได้  (เรากำหนดความเร็วในการหมุนเอง)


4. ไม่สามารถวิเคราะห์ปฎิกริยาเคมีได้  ถ้าของไหลที่ไหลเข้ามาผสมกันแล้วมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสารอื่นๆ  หรือเกิดเผาไหม้  เป็นต้น  ลักษณะงานแบบนี้ยังวิเคราะห์ใน Flow Simulation ไม่ได้

หวังว่าผู้อ่านจะเข้าใจถึงขอบเขตความสามารถของ Flow Simulation กันนะครับ  ถ้างานของใครที่เกินความสามารถของ Flow Simulation ก็อาจจะต้องลองหาโปรแกรมอื่นๆดู  แต่ถ้างานของเราสามารถวิเคราะห์ด้วย Flow Simulation ผมก็แนะนำว่าเป็นโปรแกรมหนึ่งที่ใช้งานได้ง่ายและเหมาะแก่การเริ่มต้นศึกษาการวิเคราะห์ CFD

หากใครสนใจศึกษาเรื่อง Flow Simulation เพิ่มเติมก็สามารถสั่งซื้อแผ่นสอนเพื่อนำไปเรียนรู้ด้วยตัวเองได้นะครับ
รายละเอียดแผ่นสอน Flow Simulaiton คลิกที่นี่
แผ่นสอน SolidWorks Simulation อื่นๆ คลิกที่นี่

สอบถามรายละเอียดเพื่มเติมได้ที่
คุณพลวัฒน์ (บอล)  รับวิเคราะห์  ให้คำปรึกษา  และสอนโปรแกรม SolidWorks Simulation
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : SolidWorks Simulation Adviser

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคคลิกมุมอับ (How to used select other)

เคยมั๊ยครับ  เวลาต้องการคลิกผิวบางผิว  หรือคลิก Body บางอัน  แต่จุดที่ต้องการคลิกกลับถูกซ่อนอยู่ด้านหลังชิ้นงานอื่นๆ  หรือไม่ก็ผิวที่ต้องการคลิกเป็นผิวที่สัมผัสกับชิ้นงานอื่น ทำให้ไม่ว่าจะหมุนชิ้นงานให้อยู่ในมุมไหนๆ ก็ไม่สามารถคลิกเลือกผิวที่ต้องการได้  บทความนี้จึงเขียนขึ้นมาเพื่อบอกถึงเทคนิคให้เราสามารถเลือกผิวไหนก็ได้ตามที่เราต้องการ

เทคนิคการเลือกผิวหรือชิ้นงานใดๆ ที่จะนำเสนอมีอยู่ 3 แบบ

1. การใช้ Section View  

สำหรับวิธีการนี้เป็นวิธีการที่ Basic สุดๆ เพราะทุกๆคนน่าจะเคยใช้กันมาบ้าง  แต่อาจจะนึกไม่ถึงว่าสามารถนำมาประยุกต์เพื่อให้เราคลิกผิวที่อยู่ด้านในของชิ้นงานได้  เช่น ถ้าใครวิเคราะห์พวกถังรับแรงดันจะต้องคลิกที่ผิวด้านในถังเพื่อกำหนดแรงดัน  เราก็สามารถใช้ Section View เพื่อช่วยในการกำหนดค่าได้

2. การกำหนดความโปร่งใส Transparency


บางครั้งโมเดลที่เราวาดก็จะมีกล่องครอบอยู่  ทำให้เรามองไม่เห็นด้านใน  และคลิกเลือกผิวต่างๆได้ลำบาก  การกำหนดให้ชิ้นงานโปร่งใสจะช่วยให้เราคลิกทะลุผิวที่โปร่งใส  ไปเลือกผิวที่อยู่ด้านในได้แทน

3. การใช้คำสั่ง Select Other

สำหรับผม  คำสั่งนี้คือตัวช่วยสำคัญที่สุด  เพราะทำให้เราสามารถเลือกผิวหรือชิ้นงานใดๆก็ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์แบบใดก็ตาม  โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาเตรียมโมเดลก็ก่อน(2 วิธีด้านบนจะต้องเตรียมทำ Section View หรือไม่ก็ทำให้ชิ้นงานโปร่งใสก่อน)  และที่สำคัญคือบางงานเราก็ใช้ 2 วิธีด้านบนเพื่อเลือกผิวไม่ได้ด้วย


วิธีการใช้งาน คือ
- เข้าไปที่คำสั่งที่เราต้องการกำหนดค่า เช่น จะกำหนดให้ชิ้นงานมีการเชื่อมกัน(Bond) ก็เข้าไปที่ Connection, จะใส่แรงก็เข้าไปที่คำสั้ง Force ฯลฯ
- เอา Cursor ไปชี้ตรงตำแหน่งผิวที่เราต้องการคลิกเลือก  (ผิวที่เราต้องการอาจจะโดนบังอยู่  แต่ก็ไม่เป็นไร  ให้ Cursor อยู่ที่ตำแหน่งนั้นๆก็พอ)
- คลิกขวา >> เลือก Select Other
- โปรแกรมจะปรากฎหน้าต่างเพื่อบอกว่า  ตำแหน่งที่ Cursor อยู่  สามารถเลือกผิวใดได้บ้าง  โดยผิวที่อยู่ในหน้าต่างจะเป็นผิวที่ถูกซ่อนอยู่ด้านหลังทั้งหมด  เราก็สามารถเลือกผิวที่ต้องการโดยเลื่อน Cursor ไปชี้ที่ผิวต่างๆ เพื่อหาผิวที่ต้องการได้เลย
หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้ใช้งาน Simulation ทุกๆท่านทำงานได้สะดวกมากขึ้นนะครับ  สำหรับใครที่ต้องการเรียนรู้การใช้งานตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไปถึงขั้นสูง  รวมถืง Tip เทคนิคต่างๆ ก็สามารถสั่งซื้อแผ่นสอนไปเรียนรู้ด้วยตัวเองได้  โดยในแผ่นสอนจะมีทั้งวีดีโอเป็นภาษาไทยและไฟล์โมเดลให้ลองทำตาม  และเนื้อหาที่สอนจะเป็นไปตามหลักสูตร Training ของบริษัท SolidWorks โดยตรงครับ

ดูรายละเอียดแผ่นสอน SolidWorks Simulation คลิกที่นี่

รับสอนหรือปรึกษาการใช้งาน SolidWorks Simulation 
คุณพลวัฒน์ (บอล)
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : SolidWorks Simulation Adviser

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การตรวจสอบการกินเนื้อของโมเดลเพื่อสร้าง Mesh (How to check interference?)

ผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับ Mesh Error ไปแล้วว่า  สาเหตุที่ทำให้เราสร้าง Mesh ไม่ได้เกิดจากอะไรได้บ้าง  แต่ในบทความนี้จะขอเจาะลึกถึงเทคนิค  วิธีการตรวจสอบโมเดลที่มีปัญหาชิ้นงานกินเนื้อกันโดยเฉพาะ
 ลักษณะของชิ้นงานที่กินเนื้อกันจะมีอยู่ 2 สาเหตุหลักๆคือ
1. เขียน Part เป็น Multi body  ในโปรแกรม SolidWorks Simulation จะมองว่าชิ้นงาน Part ที่เป็น Multibody มีค่าเท่ากับงาน Assembly  ดังนั้นการเขียน Part ให้กินเนื้อกันทำให้โปรแกรมสร้าง Mesh ไม่ได้
2. การประกอบ Assembly ทำให้ชิ้นงานกินเนื้อกัน

สาเหตุทั้ง 2 ข้อข้างต้นสามารถตรวจสอบได้โดยใช้คำสั่ง Interference Detection ดังรูป
**คำสั่ง Interference Detection จะมีใน Assembly เท่านั้น  ดังนั้นถ้าต้องการตรวจสอบจุดที่มีการกินเนื้อกันของ Part ที่เป็น Multibody จะต้องนำ Part นี้ไปเปิดใน Assembly ก่อนจึงจะใช้งานคำสังนี้ได้**