ชนิดของการสัมผัสกันระหว่างชิ้นงาน (Contact) แบ่งหลักๆได้ 3 ประเภท
1. Bond คือ การกำหนดให้ชิ้นงานมีการเชื่อมติดกัน เสมือนว่าเป็นชิ้นงานเดียวกัน
2. No penetration คือ การกำหนดให้ชิ้นงานมีการสัมผัสกันได้ หากมีแรงมาดันชิ้นงานให้เคลื่อนที่เข้ามาชนกัน ชิ้นงานก็จะมีการดันกัน
3. Allow penetration คือ การกำหนดให้ชิ้นงานสามารถทะลุกันได้ หากชิ้นงานเคลื่อนที่มาชนกัน ก็จะทะลุผ่านกันไปเลย ลักษณะเหมือนคนกับผี เป็นต้น
ความเร็วในการคำนวณผลลัพธ์ Contact ประเภท Allow penetration (คำนวณเร็วสุด) > Bond > No penetration (คำนวณนานสุด)
นอกจากเรื่องประเภทของ Contact แล้ว ในการกำหนด Contact ของโปรแกรม SolidWorks ยังมีวิธีการกำหนดได้ 2 แบบหลักๆดังนี้
1. Component Contact คือ การเลือกชิ้นงานทั้งชิ้นว่าระหว่างชิ้นงานที่ 1 กับชิ้นงานที่ 2 จะมี Contact กันแบบใด ซึ่งการเลือก Component Contact จะใช้ได้ 2 กรณีคือ
- ทำได้เฉพาะที่ผิวของชิ้นงานทั้ง 2 มีการสัมผัสกันอยู่แล้วตั้งแต่ตอนประกอบกัน แต่ถ้าชิ้นงานถูกแรงกระทำจนงอแล้วมาสัมผัสกันภายหลัง Component Contact จะไม่สามารถตรวจสอบที่จุดนี้ได้
- ทำได้เฉพาะผิวชิ้นงานสัมผัสกัน ถ้าเป็นการสัมผัสแบบขอบชิ้นงานสัมผัสกับผิว หรือมุมแหลมของชิ้นงานสัมผัสกับผิว Component contact จะไม่สามารถตรวจสอบจุดนี้ได้
สำหรับการสัมผัสที่ Component Contact ทำไม่ได้ สามารถใช้ Contact set ช่วยแก้ปัญหาได้
2. Contact set คือ ระบุตำแหน่งที่ชิ้นงานจะมีการสัมผัสกันอย่างเฉพาะเจาะจง เช่น การเลือกผิวที่จะให้มี Contact แบบ Bond, เลือกขอบหรือมุมของชิ้นงานให้มี Contact แบบ No penetration กับผิวของชิ้นงานอีกชิ้น เป็นต้น
การกำหนดชนิดของ Contact ให้ถูกต้องเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผลการวิเคราะห์ของเราได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องมากขึ้นด้วย ดังนั้นก่อนวิเคราะห์ชิ้นงานก็ควรทำความเข้าใจวิธีการประกอบชิ้นงานของเราก่อน เพื่อให้กำหนด Contact ได้อย่างถูกต้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น