วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559

ผลลัพธ์ที่ได้จาก Simulation มีอะไรบ้าง Part 2/5

ในครั้งที่แล้ว  เราพูดถึงผลลัพธ์โดยรวมว่ามีอะไรบ้าง  แต่คราวนี้เราจะมาลงรายละเอียดเรื่องของผลลัพธ์ Stress กันให้มาขึ้นะครับ  เนื่องจากผลลัพธ์นี้เป็นตัวชี้วัดว่าชิ้นงานของเราจะเกิดความเสียหายขึ้นหรือไม่  แต่ค่า Stress เองก็มีแยกย่อยมีหลายชนิด  ผมจะขอพูดถึงตัวที่เราใช้ดูกันบ่อยๆ ดังต่อไปนี้

1. Von Mises Stress  

คือ ผลลัพธ์ Stress ที่จะแสดงออกมาเป็นค่าแรกในโปรแกรม SolidWorks Simulation  อธิบายง่ายๆคือ เป็นค่า Stress ที่นำผลลัพธ์ Stress ทั้ง 6 แบบ มาเข้าสูตรรวมกันเพื่อหาว่าชิ้นงานได้รับ Stress รวมๆแล้วเท่าไรบ้าง
เรามักจะใช้ค่านี้ในเปรียบเทียบกับค่า Yield Stress ของวัสดุเพื่อดูว่าชิ้นงานเสียหายหรือยัง  โดยถ้าค่า Maximum Von Mises Stress มากกว่า Yield ก็จะถือว่าชิ้นงานเกิดความเสียหายแล้ว

แต่การดูค่า Von Mises Stress อย่างเดียวก็อาจจะไม่ใช่คำตอบทั้งหมด  เนื่องจาก 2 สาเหตุดังนี้คือ
- เราจะใช้การดู Von Mises Stress กับวัสดุเหนียว (ส่วนใหญ่โลหะทั่วไปก็มักจะเป็นวัสดุเหนียว)
- ค่า Von Mises Stress จะบอกทิศทางของแรงไม่ได้  ดังนั้นถ้าค่า Von Mises Stress สูงเกินค่า Yield แต่ชิ้นงานได้รับแรงกด  ชิ้นงานก็อาจจะไม่เสียหาย  เช่น ถ้านำลวดเหล็กมาดึง  ลวดเหล็กอาจจะรับน้ำหนักได้ 1 ตันก็ขาด  แต่ถ้าเอาลวดเหล็กมาทับด้วยน้ำหนัก 1 ตันเหล็กก็อาจจะยังไม่ขาดเป็นต้น

2. Principal Stress

เรียกอีกอย่างว่า ค่าความเค้นในแนวแกนหลัก  ปกติจะใช้ดูวัสดุเปราะว่าเกิดความเสียหายหรึอไม่  แต่ผมจะใช้การดูผลลัพธ์ตัวนี้ควบคู่กับการดูค่า Von Mises Stress ไปด้วย  เนื่องจากค่า Principal Stress สามารถดูทิศทางของแรงที่เกิดขึ้นได้ว่าเป็นแรงดึงหรือแรงกด  โดยแรงดึงจะมีค่า Stress เป็นบวก  ส่วนแรงกดมีค่า Stress ติดลบ

ตัวอย่างการอ่านผลลัพธ์

- งานวิเคราะห์แผ่นเหล็กที่ยึดกันด้วย Bolt โดยแผ่นเหล็กมีเหลืองจะถูกยึดอยู่กับที่  และแผ่นเหล็กสีฟ้าจะถูกงัดขึ้นและมีแรงดันไปด้านข้างด้วย
- ผลลัพธ์ค่า Von Mises Stress จะพบว่าจุดที่ค่า Stress สูงที่สุดอยู้บริเวณ Bolt
- แต่เมื่อแสดงผลลัพธ์ Principal Stress 1 จะเห็นว่าค่า Stress สูงที่สุดอยู่ส่วนล่างของแผ่นเหล็กสีฟ้า  ส่วนจุดที่เป็นค่า Von Mises Stress สูงที่สุดกลับเป็นสีน้ำเงินแทน  เพราะตำแหน่งนั้นชิ้นงานได้รับแรงกดจาก Bolt
- ดังนั้นเราจะสรุปความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ว่าตำแหน่งที่ชิ้นงานจะเสียหายจริงควรเป็นด้านล่างแผ่นเหล็กสีฟ้า

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เราสรุปความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ตรงจุดมากขึ้นนะครับ

ส่วนใครที่ต้องการศึกษาโปรแกรม SolidWorks Simulation อย่างจริงจังแต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนดี  ก็สามารถซื้อแผ่นสอนไปเรียนรู้ด้วยตัวเองได้  เพราะเนื้อหาในแผ่นสอนได้อธิบายตั้งแต่ทฤษฎีและการเริ่มต้นใช้งาน เพื่อให้ผู้ที่ไม่เคยทำงานวิเคราะห์มาก่อนสามารถเรียนรู้เข้าใจได้  ไปจนถึงการใช้งานระดับสูงเพื่อวิเคราะห์งานที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

ดูรายละเอียดแผ่นสอน SolidWorks Simulation คลิกที่นี่

รับสอนหรือปรึกษาการใช้งาน SolidWorks Simulation 

คุณพลวัฒน์ (บอล)
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : SolidWorks Simulation Adviser