หลังงานที่ดูผลลัพธ์ทั้งค่า Stress และ Displacement กันไปแล้ว คราวนี้เรามาดูเรื่อง Safety Factor กันบ้างนะครับ
สำหรับค่า Safety Factor หรือ Factor of Safety หรือ ค่าความปลอดภัย ซึ่งจะใช้คำไหนก็ความหมายเดียวกัน คือ ค่าที่คนออกแบบชิ้นงานนั้นๆ เผื่อเอาไว้เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานนั่นเอง ซึ่งในคำนวณหาค่า Safety Factor นั้นก็มีหลายแบบขึ้นอยู่กับว่าเรากำลังวิเคราะห์งานแบบไหน หรือใช้วัสดุอะไรอยู่ ซึ่งผมจะขออธิบายแบบง่ายๆ ไม่ลงไปในทฤษฎีลึกละกันนะครับ
วิธีคำนวณ Factor of safety ที่โปรแกรมสามารถคำนวณได้มีดังนี้
1. Maximum von Mises stress
2. Maximum shear stress (Tresca)
3. Mohr-Coulomb stress
4. Maximum Normal stress
สำหรับการวิเคราะห์วัสดุ Composite จะเพิ่มรูปแบบการคำนวณขึ้นมาอีก 3 ชนิดดังนี้
5. Tsai-Hill Criterion
6. Tsai-Wu Criterion
7. Maximum Stress Criterion
ถ้าหากเราไม่ได้เลือกวิธีคำนวณแบบใดเป็นพิเศษ แต่เลือกเป็น Automatic โปรแกรมจะไปดูจากวัสดุที่เราเลือกใช้ว่าในวัสดุนั้นๆกำหนดไว้ว่าจะให้ใช้วิธีการคำนวณแบบไหน แล้วแสดงเป็นผลลัพธ์ออกมาให้เราเอง
แต่ถ้าหากเราไม่ได้กำหนดวิธีคำนวณความเสียหายในค่าวัสดุด้วย โปรแกรมจะใช้วิธี Mohr-Coulomb คำนวณให้นะครับ โดยส่วนตัวแล้วผมจะใช้อยู่หลักๆ 2 ตัวก็คือ
- Maximum von Mises stress ซึ่งใช้สำหรับพิจารณาวัสดุเหนียว
- Mohr-Coulomb stress ซึ่งใช้สำหรับวัสดุเปราะ
โดยส่วนใหญ่แล้ววัสดุในทางวิศวกรรมที่ใช้กันมักจะเป็นวัสดุเหนียว แต่งานบางอย่างก็ใช้โลหะที่มีการชุบแข็ง ทำให้กลายเป็นวัสดุเปราะ หรืออาจจะวิเคราะห์วัสดุจำพวกแก้วซึ่งก็เป็นวัสดุเปราะเหมือนกัน ดังนั้นเวลาดูผลลัพธ์ค่า Factor of safety ก็เลือกทฤษฎีให้ถูกต้องด้วยนะครับ
วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
แผ่นสอน Simulation Nonlinear
สวัสดีครับ วันนี้ผมมีแผ่นสอนใหม่มาแนะนำให้ทุกๆท่านรู้จักกันนะครับ แผ่นสอนนั้นคือ SolidWorks Simulation Nonlinear นั่นเอง
สำหรับคนที่สงสัยว่าแล้ว Nonlinear คืออะไร ต่างกับ Linear Static ตรงไหน สามารถศึกษาดูได้ในบทความนี้นะครับ
Non-linear Analysis VS Linear Static Analysis
สำหรับแผ่นสอนนี้ผมจะเน้นไปที่ทฤษฎีเกี่ยวกับวัสดุต่างๆ ที่ต้องใช้การวิเคราะห์ Nonlinear สอนเครื่องมือที่แตกต่างจากการวิเคราะห์แบบ Linear Static (ส่วนใหญ่เหมือนกัน แต่ต่างแค่บางจุด) รวมถึงอธิบาบความแตกต่างระหว่างงานที่ได้จากการวิเคราะห์แบบ Nonlinear กับ Linear Static
ใครที่สนใจสามารถดูข้อมูลในแผ่นสอนได้ที่นี่
สำหรับคนที่สงสัยว่าแล้ว Nonlinear คืออะไร ต่างกับ Linear Static ตรงไหน สามารถศึกษาดูได้ในบทความนี้นะครับ
Non-linear Analysis VS Linear Static Analysis
สำหรับแผ่นสอนนี้ผมจะเน้นไปที่ทฤษฎีเกี่ยวกับวัสดุต่างๆ ที่ต้องใช้การวิเคราะห์ Nonlinear สอนเครื่องมือที่แตกต่างจากการวิเคราะห์แบบ Linear Static (ส่วนใหญ่เหมือนกัน แต่ต่างแค่บางจุด) รวมถึงอธิบาบความแตกต่างระหว่างงานที่ได้จากการวิเคราะห์แบบ Nonlinear กับ Linear Static
ใครที่สนใจสามารถดูข้อมูลในแผ่นสอนได้ที่นี่
วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
ผลลัพธ์ที่ได้จาก Simulation มีอะไรบ้าง Part 3/5
สวัสดีครับ ขอโทษด้วยที่หายไปนานเลย คราวนี้เรามาดูกันต่อเรื่องผลลัพธ์ Displacement กันบ้างนะครับ
Displacement ที่สามารถดูได้มีหลายประเภท แต่ที่ใช้กันหลักๆจะมีอยู่ 4 ตัวด้วยกันคือ
1. URES คือ ระยะที่ชิ้นงานบิดงอไปแบบระยะขจัด เพราะชิ้นงาน 3 มิติจะมีการบิดงอได้ทั้งในแนวแกน X, Y, Z ดังนั้นระยะที่รวมทั้ง 3 แนวแกนคือค่า URES
2. UX Displacment คือ ระยะที่ชิ้นงานบิดงอตามแนวแกน X
3. UY Displacment คือ ระยะที่ชิ้นงานบิดงอตามแนวแกน Y
4. UZ Displacment คือ ระยะที่ชิ้นงานบิดงอตามแนวแกน Z
ปกติแล้วทิศทาง X, Y, Z จะอ้างอิงจาก Global Coordinate ของไฟล์ Part หรือ Assembly นั้นๆ แต่ว่าเราเปลี่ยนแกนอ้างอิงได้โดยสร้าง Global Coordinate ของตัวเองขึ้นมาและกำหนดให้การแสดงผลลัพธ์เป็นไปตามแกนอ้างอิงใหม่
นอกจากการอ้างอิงมาแนวแกน X, Y, Z แล้ว เรายังสามารถเปลี่ยนทิศทางเป็นแบบ Radial(ทิศทางตามแนวรัศมี), Tangential (ทิศทางตามแนวเส้นรอบวง), Axial(ทิศทางตามแนวแกนหมุน) ซึ่งการดูผลลัพธ์แบบนี้เหมาะกับชิ้นงานที่เป็นทรงกระบอกหรือทรงกลม
ภาพตัวอย่างที่ผมเอามาแสดงประกอบการอธิบายอาจจะมีค่า Displacement อย่างเดียว แต่การเปลี่ยนทิศทางนี้สามารถทำที่ผลลัพธ์อื่นๆ เช่น Stress, Strain ได้ดัวยนะครับ
Displacement ที่สามารถดูได้มีหลายประเภท แต่ที่ใช้กันหลักๆจะมีอยู่ 4 ตัวด้วยกันคือ
1. URES คือ ระยะที่ชิ้นงานบิดงอไปแบบระยะขจัด เพราะชิ้นงาน 3 มิติจะมีการบิดงอได้ทั้งในแนวแกน X, Y, Z ดังนั้นระยะที่รวมทั้ง 3 แนวแกนคือค่า URES
2. UX Displacment คือ ระยะที่ชิ้นงานบิดงอตามแนวแกน X
3. UY Displacment คือ ระยะที่ชิ้นงานบิดงอตามแนวแกน Y
4. UZ Displacment คือ ระยะที่ชิ้นงานบิดงอตามแนวแกน Z
ปกติแล้วทิศทาง X, Y, Z จะอ้างอิงจาก Global Coordinate ของไฟล์ Part หรือ Assembly นั้นๆ แต่ว่าเราเปลี่ยนแกนอ้างอิงได้โดยสร้าง Global Coordinate ของตัวเองขึ้นมาและกำหนดให้การแสดงผลลัพธ์เป็นไปตามแกนอ้างอิงใหม่
นอกจากการอ้างอิงมาแนวแกน X, Y, Z แล้ว เรายังสามารถเปลี่ยนทิศทางเป็นแบบ Radial(ทิศทางตามแนวรัศมี), Tangential (ทิศทางตามแนวเส้นรอบวง), Axial(ทิศทางตามแนวแกนหมุน) ซึ่งการดูผลลัพธ์แบบนี้เหมาะกับชิ้นงานที่เป็นทรงกระบอกหรือทรงกลม
ภาพตัวอย่างที่ผมเอามาแสดงประกอบการอธิบายอาจจะมีค่า Displacement อย่างเดียว แต่การเปลี่ยนทิศทางนี้สามารถทำที่ผลลัพธ์อื่นๆ เช่น Stress, Strain ได้ดัวยนะครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)