1. การซ่อมบำรุง จะได้เปลี่ยนอะไหล่ก่อนที่จะเกิดความเสียหายหนัก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้งานหยุดชะงัก
2. การรับประกัน สำหรับผู้ผลิตที่ดำเนินธุรกิจย่อมต้องกำหนดการรับประกันให้ลูกค้ามั่นใจว่าของที่ซื้อไปต้องใช้งานได้แน่ๆ และหากมีปัญหาอย่างน้อยๆก็จะไม่ต้องเสียอะไรเพิ่มในช่วงเวลารับประกัน นอกจากนี้ทางผู้ผลิตเองจะได้กำไรจากการขายอะไหล่ด้วย ทำให้ยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้งานเป็นระยะเวลานานเราเรียกว่า ความล้า (Fatigue) ซึ่งจะเกิดขึ้นจากแรงกระทำซ้ำๆ โดยการวิเคราะห์ความล้าจะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นจำนวนครั้งที่ชิ้นงานสามารถรับแรงกระทำนั้นๆได้ จากนั้นเราก็นำจำนวนครั้งมาแปลงเป็นระยะเวลาที่สามารถใช้งานได้ เช่น วิเคราะห์แป้นถีบจักรยาน พบว่าสามารถรับแรงได้ 20,000 ครั้ง จากนั้นผู้ผลิตก็จะมีข้อมูลว่าโดยเฉลี่ยแล้ว คนจะถีบจักรยานเดือนๆหนึ่งประมาณกี่ครั้ง สมมติว่ามีข้อมูลว่าเดือนหนึ่งๆคนจะใช้จักรยาน 200 ครั้ง แสดงว่าจักรยานนี้จะมีอายุการใช้งาน 20,000/200 = 100 เดือน หรือประมาณ 8 ปี
สำหรับการวิเคราะห์ความล้า ข้อมูลอย่างแรกที่เราต้องการ คือ SN Curve ซึ่งเป็นข้อมูลของวัสดุต่างๆที่เรานำมาใช้สร้างผลิตภัณฑ์ มีแกน X แสดงถึงจำนวนครั้งที่วัสดุสามารถทนรับแรงขนาดนั้นๆได้ และแกน Y แสดงถึงขนาดของแรงกระทำ
ค่า SN
Curve หาได้จากการทดสอบวัสดุ
ซึ่งการทดสอบจะนำวัสดุไปรับแรงดึงหรือกดที่ค่าหนึ่งๆ
จากนั้นใส่แรงกระทำซ้ำๆจนกว่าชิ้นงานจะเกิดความเสียหาย เราก็จะได้จุดบนกราฟมาหนึ่งจุด จากนั้นจึงลองเปลี่ยนขนาดของแรงและใส่แรงกระทำซ้ำๆจนเกิดความเสียหาย เราก็จะได้ข้อมูลมาอีกจุดหนึ่ง ทำเช่นนี้เรื่อยๆจนได้จุดมากพอจะเขียนเป็นเส้นกราฟได้ (ลองดูในคลิปวีดีโอนี้ได้ครับ https://www.youtube.com/watch?v=msVt0mrvopg)
จากวิธีการข้างต้นจะเห็นว่าการหาค่า SN Curve ค่อนข้างใช้เวลาและค่าใช้จ่ายพอสมควร เพราะจุดบทกราฟ 1
จุดหมายถึงการทำลายชิ้นงานทดสอบ 1 ชิ้น แต่ถ้าวัสดุที่ทำผลิตภัณฑ์เป็นโลหะ เราประมาณค่า SN Curve ด้วยสูตรคำนวณดังรูปต่อไปนี้
จากรูปด้านบนจะเห็นว่าเราจะได้จุดมา
3 จุดคือ
-
ตำแหน่งแกน X = 0, แกน Y = ค่า Ultimate
strength ของวัสดุ
-
ตำแหน่งแกน X = 1,000 ครั้ง, แกน Y = 0.9 x ค่า
Ultimate strength ของวัสดุ
-
ตำแหน่งแกน X = 1,000,000 ครั้ง, แกน Y
= 0.5 x ค่า
Ultimate strength ของวัสดุ
หลังจากได้จุดทั้ง 3 มาแล้ว เราสามารถเขียน SN Curve ได้โดยใช้กราฟที่เป็นสเกล
log-log (แกน X,Y เป็นค่า log)
สำหรับ Part แรกจะขอจบไว้เท่านี้ก่อน ส่วนใน Part ถัดไปเราจะมาดูกันว่าในโปรแกรม SolidWorks Simulation จะต้องกำหนดค่าอะไรบ้าง แล้วผลลัพธ์ที่ได้มีวิธีการดูอย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น