วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

หลักสูตรอบรม SolidWorks Flow Simulation สำหรับการวิเคราะห์ใบพัด

คือ หลักสูตรที่เน้นการวิเคราะห์งานที่มีการหมุน เช่น ใบพัด, กังหัน, Blower ฯลฯ โดยใช้โปรแกรม Flow Simulation ซึ่งเนื้อหาในการอบรมประกอบไปด้วย
- การเตรียมโมเดลสำหรับการวิเคราะห์งานหมุน
- การใช้ฟังชั่น Sliding Mesh เพื่อวิเคราะห์ใบพัด (อยู่ใน SolidWorks Version 2015 ขึ้นไป)
- เทคนิคการสร้าง Mesh ให้เหมาะสมเพื่อความแม่นยำของผลลัพธ์
- การทำ Mesh Refinement
- การแสดงผลลัพธ์

วันที่อบรม  7 สิงหาคม 2559
ระยะเวลาในการเรียน  1 วัน
เวลา 9.00 - 16.00 น.

สถานที่
- คอนโด M Phayathai (ห่างจาก BTS อนุสาวรีย์ 200 เมตร)

ผู้สอน
- คุณพลวัฒน์  ไพรไพศาลกิจ (สอนที่ คอนโด M Phayathai)  ดู Profile

ค่าอบรม  3,000 บาท/คน/คอร์ส

ขั้นตอนการลงทะเบียน
1. ***โอนเงินค่าจองคอร์สอบรม 100 บาท*** ได้ที่
บัญชี  นายพลวัฒน์   ไพรไพศาลกิจ
        สาขา  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  บางเขน
        - ธนาคารไทยพาณิชย์   เลขบัญชี  235-207904-0
        - ธนาคารกสิกรไทย       เลขบัญชี  694-2-00704-1
***(ค่าอบรมที่เหลือจ่ายที่ผู้สอนในวันเรียน)***
2. ลงทะเบียนเลือกวันและสถานที่ที่ต้องการได้ ที่นี่

***ผู้เรียนจะต้องเตรียมคอมพิวเตอร์มาเอง***

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่
คุณพลวัฒน์ (บอล)
Tel. 087-489-7265
Email : sim.adviser@gmail.com
Line ID : ballastro

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของใบพัด (Sliding Mesh)

การวิเคราะห์ของไหลใน Flow Simulation มีข้อจำกัดอยู่อย่างหนึ่งซึ่งก็คือไม่สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของของไหลในขณะที่มีชิ้นงานเคลื่อนที่ไปมาได้  ยกเว้นกรณีเดียวคือชิ้นงานมีการเคลื่อนที่แบบหมุนรอบแกนนั้นเอง

ใน SolidWorks Flow Simulation เวอร์ชั่น 2015 มีฟังชั่นใหม่สำหรับการวิเคราะห์ใบพัดนั้นก็คือ การวิเคราะห์แบบ Sliding Mesh ซึ่งช่วยให้เราวิเคราะห์ใบพัดได้หลากหลายแบบและมีความแม่นยำเพิ่มขึ้น

ลักษณะงานที่เหมือนกับการวิเคราะห์แต่ละแบบ

1. Local region(s) (Averaging)  คือ การกำหนดบริเวณที่มีชิ้นงานหมุน  ซึ่งเหมาะกับการวิเคราะห์งานที่ของไหลไหลผ่านตามแนวแกนหมุนของใบพัด  ยกตัวอย่างเช่นพัดลม  ซึ่งจะดูดลมที่ด้านหลังและปล่อยออกที่ด้านหน้าใบพัด
          ผลการวิเคราะห์จะเป็นค่าเฉลี่ยของของไหล  เนื่องจากของไหลที่ผ่านใบพัดมาจะมีค่าไม่คงที่  เช่น เวลาที่ใบพัดตัดผ่านอากาศ  จะทำให้อากาศหน้าพัดลมไหลเร็วขึ้น  แต่ถ้าเป็นจังหวะที่เจอช่องว่างระหว่างใบพัด  อากาศก็จะไหลช้าลง เป็นต้น

2. Local region(s) (Sliding) คือ เป็นฟังชั่นที่เพิ่มเข้ามาใหม่ในเวอร์ชั่น 2015  เป็นการกำหนดบริเวณที่ชิ้นงานหมุนเหมือนข้อแรก  แต่จะเป็นการวิเคราะห์แบบ Transient (ต้องเลือก Time-dependent ด้วย)  ทำให้เราสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของของไหลในขณะที่ใบพัดกำลังหมุนไปได้
          นอกจากนี้การวิเคราะห์แบบ Sliding Mesh ยังเหมาะกับการวิเคราะห์กรณีที่ของไหลไหลออกทางด้านข้างของใบพัด  ยกตัวอย่างเช่น Blower, Centrifigal pump เป็นต้น  ซึ่งจะเป็นการดูดของไหลเข้าทางด้านหน้าและปล่อยออกที่ด้านข้าง
3. Global Rotating คือ การกำหนดให้ชิ้นงานและของไหลทั้งหมดใน Domain ที่เราจะวิเคราะห์มีการหมุนทั้งหมด  ซึ่งเหมาะกับการวิเคราะห์ที่มีชิ้นงานส่วนใหญ่หมุน  หรือวิเคราะห์ใบพัดใบเดียว(ไม่วาดชิ้นงานอื่นเลย) เป็นต้น
          การวิเคราะห์แต่ละแบบก็มีความเหมาะสมในแต่ละงาน  แต่ส่วนตัวผมชอบฟังชั่นที่เข้ามาใหม่มาก  เพราะได้ลองเทียบผลการวิเคราะห์กับผลการทดลองจริงแล้วมีค่าใกล้เคียงกันมาก  แต่อาจจะติดที่ต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์นาน  ดังนั้นใครจะเลือกใช้ก็ลองดูเวลาที่ต้องใช้ทำงานด้วยนะครับ  และในเร็วๆนี้ผมจะทำแผ่นสอนเรื่องการวิเคราะห์ประสิทธ์ภาพใบพัดโดยเฉพาะ  ใครที่สนใจก็ติดตามกันได้ใน Facebook Page : SolidWorks Simulation Adviser นะครับ

สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ
คุณพลวัฒน์ (บอล)
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : SolidWorks Simulation Adviser
          

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

หลักสูตรอบรมการใช้โปรแกรม SolidWorks Simulation สำหรับวิเคราะห์งานโครงสร้าง

คือ หลักสูตรที่เน้นการวิเคราะห์งานเหล็กรูปพรรณที่นำมาประกอบเป็นโครงสร้างต่างๆ เช่น การวิเคราะห์โครงสร้าง Plant, การวิเคราะห์สะพาน, ปัญหางานโครงถัก, โครงรถแข่ง ฯลฯ  โดยเนื้อหาในหลักสูตรจะประกอบไปด้วย
- การเตรียมโมเดลให้เหมาะกับการวิเคราะห์
- วิธีการเลือกและใช้งาน Mesh ให้เหมาะกับงานวิเคราะห์
- วิธีการกำหนดแรงและจุดจับยึดแบบต่างๆ
- การวิเคราะห์โครงสร้างที่ประกอบกันด้วย Bolt
- ปัญหาที่มักพบและวิธีแก้ไข

วันที่อบรม  31 กรกฎาคม 2559
ระยะเวลาในการเรียน  1 วัน
เวลา 9.00 - 16.00 น.

สถานที่
- คอนโด M Phayathai (ห่างจาก BTS อนุสาวรีย์ 200 เมตร)

ผู้สอน
- คุณพลวัฒน์  ไพรไพศาลกิจ (สอนที่ คอนโด M Phayathai)  ดู Profile

ค่าอบรม  3,000 บาท/คน/คอร์ส

ขั้นตอนการลงทะเบียน
1. ***โอนเงินค่าจองคอร์สอบรม 100 บาท*** ได้ที่
บัญชี  นายพลวัฒน์   ไพรไพศาลกิจ
        สาขา  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  บางเขน
        - ธนาคารไทยพาณิชย์   เลขบัญชี  235-207904-0
        - ธนาคารกสิกรไทย       เลขบัญชี  694-2-00704-1
***(ค่าอบรมที่เหลือจ่ายที่ผู้สอนในวันเรียน)***
2. ลงทะเบียนเลือกวันและสถานที่ที่ต้องการได้ ที่นี่

***ผู้เรียนจะต้องเตรียมคอมพิวเตอร์มาเอง***

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่
คุณพลวัฒน์ (บอล)
Tel. 087-489-7265
Email : sim.adviser@gmail.com
Line ID : ballastro

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ผลลัพธ์ที่ได้จาก Simulation มีอะไรบ้าง Part 5/5

ในบทความก่อนๆ  เราได้รู้จักผลลัพธ์ค่าต่างๆกันไปแล้วนะครับ  สำหรับบทความนี้เราจะมาดูเครื่องมือต่างๆที่ช่วยให้เราดูผลลัพธ์กันได้ง่ายมากขึ้น

การเข้าไปที่เครื่องมือต่างๆนั้น  เราจะต้องแสดงผลลัพธ์ตัวนั้นๆก่อน  จากนั้นก็คลิกขวาที่ผลลัพธ์ที่เราต้องการใช้เครื่องมือ  ดังเช่นรูปภาพด้านล่าง

สำหรับเครื่องมือต่างๆที่จะแนะนำมีดังต่อไปนี้
1. Section Clipping  คือ เครื่องมือสำหรับตัด Section เหมือนกับเวลาเราตัดชิ้นงานเพื่อดูภาพใน  แต่สำหรับผลลัพธ์ Simulaiton จะต้องใช้เครื่องมือนี้แทน
2. Iso Cliping  คือ เครื่องมือสำหรับแสดงบริเวณเนื้อชิ้นงานที่มีค่ามากกว่าที่เรากำหนด  เช่น ถ้าเราดูค่า Stress แล้วกำหนด Iso Cliping ไว้ที่ 200 MPa  โปรแกรมก็จะแสดงเฉพาะบริเวณที่มีค่า Stress มากกว่า 200 MPa ให้เราเห็น  ทำให้สามารถระบุตำแหน่งที่ค่า Stress สูงๆ ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายได้ง่ายมากขึ้น
ในทางกลับกันถ้าเราคลิกที่ปุ่ม Reverse โปรแกรมก็จะแสดงบริเวณที่ค่า Stress น้อยกว่าที่กำหนดไว้แทน  ทำให้เราทราบว่าจุดไหนที่ชิ้นงานไม่ค่อยได้ช่วยรับแรง  เราก็สามารถลดเนื้อชิ้นงานบริเวณนั้นๆ เพื่อให้ชิ้นงานเบาลงได้
3. Mesh Sectioning  คือ เครื่องมือที่มาใหม่ในเวอร์ชั่น 2016 ลักษณะคล้ายกับ Section Cliping  แต่เครื่องมือนี้ทำให้เราตัด Section โดยอ้างอิงจาก Mesh ที่สร้าง  ทำให้เราทราบว่าค่าที่ดูอยู่มีลักษณะ Mesh เป็นอย่างไรด้วย
          เครื่องมือทั้ง 3 ชนิดข้างต้น  เมื่อดูผลลัพธ์ได้ตามต้องการแล้วต้องการทำให้ภาพชิ้นงานกลับมาเต็มชิ้นเหมือนเดิม  จะต้องเข้าไปที่เครื่องมือนั้นๆอีกครั้งหนึ่ง  แล้วเลือกคำสั่ง Cliping on/off เพื่อสั่งให้เครื่องมือนั้นๆทำงานหรือปิดการทำงาน
4. Probe  คือ เครื่องมือสำหรับการแสดงผลเป็นจุดๆหนึ่ง  ซึ่งปกติแล้วค่าที่เราเห็นจะเป็นเฉดสี  ซึ่งการจะบอกว่าสีนี้มีค่าเท่าไรเป็นเรื่องยาก  ดังนั้นถ้าเราต้องการวัดค่าที่จุดใดจุดหนึ่งจะใช้ Probe เป็นตัวช่วยแสดงผล
หวังว่าบทความนี้จะช่วยคนที่ต้องอ่านผลลัพธ์แบบจริงจังและผู้ที่ออกแบบหรือพัฒนาชิ้นงานได้นะครับ

สำหรับคนที่ต้องการเรียนรู้แบบเป็นหลักสูตร  ตอนนี้ทาง SolidWorks Simulation Adviser ได้เปิดคอร์สอบรม 2 คอร์ส คือ
- SolidWorks Simulation เป็นคอร์สสำหรับการวิเคราะห์ความแข็งแรงของชิ้นงาน  ดูรายละเอียดคลิกที่นี่
- SolidWorks Flow Simulation เป็นคอร์สสำหรับการวิเคราะห์ของไหล  ดูรายละเอียดคลิกที่นี่
ผู้ที่สนใจสามารถเลือก วันและสถานที่ ได้จากลิ้งลงทะเบียนนะครับ

สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ
คุณพลวัฒน์ (บอล)
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : SolidWorks Simulation Adviser