วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เทคนิค Run งานหลายๆเคสใน Flow Simulation (Batch Run)

บางครั้งเราต้องวิเคราะห์งานหลายโมเดล  ซึ่งงานตัวนั้นอาจจะเป็นชิ้นงานเดิม  แต่มีการเปลี่ยนแปลงในบางจุดดัง  ซึ่งถ้าเราจะวิเคราะห์งานที่แตกต่างกัน  ก็ต้องเสียเวลามาตั้งค่า >> กด Run >> รอโมเดลรันเสร็จ >> เปิดโมเดลใหม่ >> ตั้งค่า >> กด Run >> รอโมเดลรันเสร็จ  แล้ว Loop การทำงานก็จะวนแบบนี้ไปเรื่อยๆ  ยิ่งถ้าเรามีหลายโมเดล  เรายิ่งเสียเวลาอย่างมาก  เพราะต้องมานั่งคอยว่าเมื่อไรจะรันเสร็จ  จะได้เปิดโมเดลใหม่ขึ้นมา  ดังนั้นในบทความนี้จะมาช่วยแก้ปัญหาจากการต้องนั่งรอรันจนเสร็จแล้วค่อยเปิดโมเดลใหม่  มาเป็นการกำหนดให้โปรแกรมล่วงหน้าเลยว่าจะรันโมเดลไหนบ้าง  แล้วให้โปรแกรมเปิดโมเดลเอง >> รันเอง >> Save เอง  ทำให้เราไม่ต้องมานั่งเฝ้าคอมพิวเตอร์กันอีก  โดยผมจะขอยกตัวอย่างการวิเคราะห์วาล์วดังรูปต่อไปนี้
ชิ้นงานคือท่อน้ำต่อเชื่อมผ่านวาล์วตัวหนึ่ง  ซึ่งเราต้องการวิเคราะห์ว่าถ้าวาล์วมีการเปิดมากหรือน้อย  พฤติกรรมของน้ำที่ไหลอยู่ในท่อจะเป็นอย่างไรบ้าง  ดัวรูปด้านล่าง

ซึ่งในการกำหนดให้ Flow Simulation สามารถรันได้หลายๆเคสเองจะมีขั้นตอนดังนี้

วิธีการรันงานหลายๆเคส

1. เตรียมโมเดลที่วาล์วเปิดมากหรือน้อยโดยทำเป็น Configuration ไว้ (คือการทำให้ไฟล์ 1 ไฟล์มีโมเดลได้หลายหน้าตา)
2. ในแต่ละ Configuration ให้เราตั้งค่าการวิเคราะห์ Flow ไว้ล่วงหน้าเลย  ตัวอย่างในการนี้การตั้งค่าจะเหมือนกันทุกอย่าง  แต่ต่างกันที่โมเดลเท่านั้น  เราก็สามารถใช้คำสั่ง Clone Project เพื่อก๊อปปี้การตั้งค่ามาได้เลย  ทำให้เราไม่ต้องการกำหนดค่าแบบเดิมๆ ซ้ำ
3. สำหรับ SW เวอร์ชั่น 2015 ขึ้นไป เมนู Flow Simulation จะซ่อนอยู่ในเมนู Tool ก็ให้เราเข้าไปที่ Tool >> Flow Simulation >> Solve >> Batch Run
4. โปรแกรมจะเด้งหน้าต่างสำหรับถามว่าเราจะสร้าง Mesh หรือจะ Run งานใน Configuration อันไหนบ้าง  เราก็เลือกได้เลย  หรือจะเลือกทั้งหมดก็ได้  เสร็จแล้วกด Run
5. โปรแกรมจะรันโดยเรียงลำดับตาม Configuration ที่อยู่ในตารางไปทีละอัน  เมื่อรันเสร็จก็จะ Save งานที่รันเสร็จเอง  และเปิดงานใหม่ขึ้นมาโดยอัตโนมัติ  ที่เหลือก็แค่ปล่อยให้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ไป  แล้วเราก็ไปทำอย่างอื่นได้โดยไม่ต้องนั่งเฝ้าคอมพิวเตอร์

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับบทความนี้  สำหรับเทคนิคนี้ก็ต้องขอบคุณงานวิเคราะห์เครื่องบินที่ผมกำลังทำอยู่ในช่วงนี้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  และกรมช่างทหารอากาศที่ผมมีโอกาสได้เข้าไปนำเสนองาน  ทำให้ผมทราบว่ามีคนที่ต้องการเทคนิคตรงส่วนนี้อยู่  หากใครมีคำถามอะไรดีๆก็ลองส่งเข้ามาถามได้นะครับ  เพื่อเป็นประโยชน์กับตัวท่านเองและคนอื่นๆนะครับ

ส่วนใครที่ต้องการเรียนรู้โปรแกรม SolidWorks Flow Simulation เพิ่มเติมก็สามารถสั่งซื้อแผ่นสอนไปเรียนรู้ด้วยตัวเองได้นะครับ

รายละเอียดในแผ่นสอน SolidWorks Flow Simulation คลิกที่นี่

แผ่นสอน SolidWorks Simulation อื่นๆ คลิกที่นี่

ขั้นตอนการสั่งซื้อ  คลิกที่นี่

สอบถามรายละเอียดเพื่มเติมได้ที่
คุณพลวัฒน์ (บอล)  รับวิเคราะห์  ให้คำปรึกษา  และสอนโปรแกรม SolidWorks Simulation
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : SolidWorks Simulation Adviser

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

What new SolidWorks Simulation 2016

ตอนนี้โปรแกรม SolidWorks เวอร์ชั่น 2016 ก็ออกมาอย่างเป็นทางการแล้วนะครับ  ซึ่งในทุกๆเวอร์ชั่นก็จะเพิ่มความสามารถหรือลูกเล่นต่างๆมากมาย  เราลองมาดูกันว่าในเวอร์ชั่นล่าสุดนี้มีอะไรใหม่ๆกันบ้างนะครับ

สำหรับ SolidWorks Simulation 

1. Blended Curvature-based Mesher
    คือกระบวนการสร้าง Mesh แบบใหม่ที่ทำให่ Mesh บนผิวชิ้นงานมีคุณภาพสูงขึ้น  โดยเฉพาะงานบางงานที่อาจจะใช้ Standard Mesh หรือ Curvature Base Mesh สร้างไม่ได้  ก็ลองใช้ Mesh ตัวใหม่ดูอาจจะสร้าง Mesh ได้นะครับ

2. Automatic Bonding for Shells
     ในเวอร์ชั่นก่อนๆ การกำหนดชิ้นงานใน Assembly ให้เชื่อมกัน(ฺBond Contact) ของคำสั่ง Global Contact จะทำได้แค่บริเวณที่ผิวของชิ้นงานอยู่ชิดกันพอดี  ถ้าโมเดลที่เราวาดขึ้นมามีช่องว่างเล็กอยู่  เราก็ต้องใช้ Contact Set เพื่อกำหนดค่ากันเอง (ใครยังไม่เข้าใจเรื่อง Contact สามารถศึกษาได้ในบทความ "ชนิดของ Contact สำหรับวิเคราะห์งาน Assembly")  แต่ในเวอร์ชั่น 2016 มีการพัฒนาความสามารถของ Global Contact ให้ตรวจสอบผิวที่อยู่ห่างกัน  และยังตรวจสอบชิ้นงานที่เป็น Shell Mesh (ชิ้นงานบางๆ)ได้อีกด้วย  ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลากำหนด Contact Set กันเองแบบเมื่อก่อน

3. Bolts and Pins on the Same Part
     สามารถใช้คำสั่ง Pin หรือ Bolt บนชิ้นงานเดียวกันได้แล้ว  จากเดิมเวลาที่เราจะกำหนด Pin หรือ Bolt โปรแกรมจะมองว่าเราต้องการยึดชิ้นงาน 2 ชิ้นให้อยู่ด้วยกัน  แต่ในบางครั้งเราก็ต้องการใส่ Pin หรือ Bolt บนงานชิ้นเดียว  ในเวอร์ชั่น 2016 จึงแก้ไขคำสั่งในจุดนี้แล้ว


4. Controlling Values and Display of Maxima and Minima on Contour Plots
     การแสดงเฉดสีในเวอร์ชั่นก่อน  ถ้าค่า Stress หรือ Displacement บนชิ้นงานมีค่ามากกว่าค่า Maximum บนแถบสี  เวลาที่โปรแกรมแสดงเฉดสีบนชิ้นงานก็จะเป็นสีแดงทั้งหมด  หรือถ้าค่าบนชิ้นงานน้อยกว่าค่า Minimum บทแถบสี  เฉดสีบนชิ้นงานก็จะเป็นสีน้ำเงินทั้งหมด  แต่ในเวอร์ชั่น 2016 ได้เพิ่มฟังชั่นการแสดงเฉดสีบนชิ้นงาน  โดยทำให้ค่าที่มากหรือน้อยเกินกว่าแถบสี  สามารถที่จะไม่แสดงเฉดสีได้  ทำให้การดูเฉดสีบนชิ้นงานง่ายขึ้น  ไม่ต้องสับสนกับสีแดงหรือน้ำเงินทั้งชิ้นงาน

5. Detecting Unconstrained Bodies
     สำหรับคนที่วิเคราะห์งาน Assembly ใหม่ๆน่าจะเคยเจอ Error ที่บอกว่า "Model is unstable" ซึ่งผมเคยอธิบายถึงสาเหตุของ Error ไปแล้วในบทความ "สาเหตุและการแก้ปัญหา Error "Model is unstable. Check that you have applied adequate fixture to stabilize the model."  ทีนี้การแก้ปัญหาของเรา  ถ้าใครมีฟังชั่น Frequency ก็สามารถใช้ฟังชั่นนี้ตรวจสอบได้  แต่ถ้าไม่มีเราก็ต้องมาตรวจสอบโมเดลว่าชิ้นงานไหนที่เรา Fixture หรือ Contact ไม่ดีพอ  ซึ่งอาจจะค่อนข้างเสียเวลาถ้ามีชิ้นงานจำนวนมาก  ดังนั้นเวอร์ชั่น 2016 จึงออกตัวช่วยตรวจหาชิ้นงานที่ยังกำหนด Fixture หรือ Contact ไม่เพียงพอมาให้

6. Display Results for Remote Mass and Remote Load
     สำหรับการวิเคราะห์งานที่มีการสั่นสะเทือน(Vibration) เช่น เราจะวิเคราะห์ฐานรับน้ำหนักเครื่องจักร  ในการวิเคราะห์เราก็อาจจะใช้คำสั่ง Remote Load ซึ่งเป็นฟังชั่นที่เราสามารถกำหนดจุด CG และน้ำหนักของเครื่องจักรกดลงไปบนฐานรับน้ำหนักได้  โดยที่เราไม่ต้องวาดชิ้นงานจริงๆ ทำให้ลดเวลาในการวิเคราะห์ลงไปมาก  แต่ในเวอร์ชั่นก่อนเมื่อเราวิเคราะห์แล้ว  เราก็จะทราบแค่ฐานมีการสั่นมากน้อยแค่ไหน  แต่ไม่สามารถดูได้ว่าเครื่องจักรที่อยู่บนฐานสั่นแค่ไหน(เพราะเราไม่ได้วาดชิ้นงานจริง  เลยไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ได้)  ดังนั้นในเวอร์ชั่น 2016 จึงเพิ่มความสามารถในการวัดผลลัพธ์ที่จุด CG ที่เรากำหนด  ทำให้เราทราบได้ว่าจุด CG ที่เรากำหนดแทนเครื่องจักรมีการสั่นมากน้อยแค่ไหน

7. Equation-driven Results
     การแสดงผลของ Result ในเวอร์ชั่นก่อนๆจะถูกกำหนดมาในโปรแกรมว่ามีค่าอะไรบ้าง เช่น Normal Stress, Von Mises Stress, X Displacement, Y Displacement ฯลฯ ทำได้เราสามารถแสดงผลได้แค่เท่ามีในโปรแกรม  แต่ในเวอร์ชั่น 2016 ได้เพิ่มลูกเล่นสำหรับ Result โดยให้เราเขียนสมการเพื่อคำนวณผลลัพธ์ที่เราต้องการเองได้ เช่น  เราอยากได้ผลลัพธ์ของมุมชิ้นงานที่ถูกบิดมีหน่วยเป็นองศา  จากเวอร์ชั่นก่อนเราจะต้องคำนวณเองในแต่ละจุดที่ต้องการ  แต่ในเวอร์ชั่นใหม่  เราก็ใส่สูตรคำนวณมุมบิดและให้โปรแกรมแสดงผลให้เราได้ทุกจุดบนชิ้นงาน  พร้อมมีเฉดมีให้เราอีกด้วย (ผมเคยแสดงวิธีคำนวนมุมบิดให้ในบทความ "การหามุมบิดของชิ้นงาน")

8. Improved Solver Error Messages
     เวลาที่เราวิเคราะห์งานแล้วพบ Error เราก็ต้องมาหาว่าจะแก้ Error นี้ยังไง  โดยอาจจะถามคนที่มีความรู้  หาในอินเตอร์เน็ตเอง ฯลฯ  ซึ่งอาจจะยุ่งยากเพราะต้องใช้เวลากว่าจะหาคำตอบเจอ  ในเวอร์ชั่น 2016 จึงเพิ่มในส่วนของ Link เพื่อตอบคำถามว่า Error นี้เกิดจากอะไรและแก้ไขได้อย่างไร  ทำให้เราเจอคำตอบที่ถูกต้องได้ง่ายขึ้น (ใช้ได้สำหรับคนที่ซื้อ License SolidWorks และมี Account สำหรับเข้า www.solidworks.com เท่านั้น)

9. Releasing Prescribed Displacements
     ในเวอร์ชั่น 2016 สามารถปิดการทำงานของ Fixture ได้  ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากในการตั้งค่าการวิเคราะห์งานที่ต้องการดันหรือดึงชิ้นงาน  และปล่อยชิ้นงานให้มีการเคลื่อนที่อย่างอิสระ เช่น ในบทความ "Spring back Analysis" ที่ผมต้องกดชิ้นงานและปล่อยเพื่อให้เกิดการคืนตัวของชิ้นงาน  ซึ่งในบทความนั้นผมได้สร้างชิ้นงานก้อนสี่เหลี่ยมเพื่อเป็นตัวกด  เพราะในเวอร์ชั่นก่อนเราไม่สามารถกำหนด Fixture เพื่อกดชิ้นงานและปล่อยได้(ต้องกำหนดตลอดงานวิเคราะห์ซึ่งทำให้ผลลัพธ์ไม่ถูกต้อง)

10. Report Publish Options
     การสร้าง Report ของเวอร์ชั่น 2016 สามารถเลือกขนาดกระดาษได้ว่าจะเป็น A4(8.27" X 11.69") หรือเป็น Letter (8.5" x 11")

11. Sectioning the Mesh
     เวอร์ชั่น 2016 การสามารถทำ Section ของ Mesh ได้  ทำให้เราสามารถมองเห็นเนื้อในของชิ้นงานว่า Mesh มีความละเอียดเดียงพอหรือไม่  โดยสามารถดูแค่ Mesh อย่างเดียว  หรือดูค่าผลลัพธ์ เช่น Stress, Displacement ฯลฯ ก็ได้

ในส่วนของ Simulation ก็เพิ่มมาไม่น้อยทีเดียวนะครับ  แต่ยังไม่หมดแค่นี้  เพราะยังมี Flow Simulation อยู่อีก  ซึ่งผมจะมาอัพเดตให้อีกทีหนึ่งนะครับ


วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Mate Lock ผู้ช่วยงานวิเคราะห์ Motion สำหรับยกของ

ในบทความนี้จะขอแนะนำ Tip Trick สำหรับงานวิเคราะห์ Motion กันบ้างนะครับ  โดยโจทย์สำหรับหัวข้อนี้คือ  เราจะทำอย่างไรให้สามารถสร้างภาพ Animation ชิ้นงานที่มีการยกของกันได้  โดยตัวช่วยสำหรับงานนี้ที่จะแนะนำคือ การทำ Mate ชิ้นงานแบบ Lock นั้นเอง

Mate Lock คืออะไร

Mate Lock คือ Mate ที่ทำให้ชิ้นงานที่เราเลือกติดไปด้วยกัน  โดยจะรักษาระยะห่างตอนที่เราเริ่มกำหนด Mate เอาไว้  เช่น  ถ้าตอนที่เรากำหนด Mate ชิ้นงานทั้ง 2 ชิ้นอยู่ห่างกัน 50 mm  เมื่อกำหนด Mate ไปแล้ว  ชิ้นงานก็จะรักษาระยะห่าง 50 mm ไว้ตลอด  เสมือนกับเป็นชิ้นงานเดียวกัน

การใช้งานใน Motion Analysis

สำหรับการกำหนดให้เครื่องจักรของเรายกของได้  คือการกำหนด Mate Lock ในช่วงเวลาที่เหมาะสม  เพื่อชิ้นงานที่จะยก  ติดขึ้นมาพร้อมกับหัวจับชิ้นงาน  โดยเราสามารถกำหนดการเปิดปิดการทำงานของ Mate ได้ใน Time line
จะเห็นว่าเทคนิคง่ายๆนี้สามารถช่วยลดระยะเวลาในการคำนวณได้อย่างมาก  เพราะถ้าเราใช้การสร้าง Contact เพื่อให้แขนกลยกชิ้นงานได้ด้วยแรงเสียดทานระหว่างตัวแขนจับกับชิ้นงาน  โปรแกรมจะต้องคำนวณนานหรือบางครั้งอาจจะวิเคราะห์ไม่ได้เลย  แต่ถ้าใช้เทคนิกนี้  นอกจากจะสามารถรันได้ง่ายแล้ว  เรายังสามารถหาทอร์คหรือกำลังของมอเตอร์ที่ใช้ยกของได้เหมือนกับเวลาเรากำหนด Contact อีกด้วย

สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่องงานวิเคราะห์ Motion  สามารถสั่งซื้อแผ่นสอนเพื่อศึกษาด้วยตัวเองได้เช่นกัน (โมเดลตัวนี้อยู่ในแผ่นสอนด้วยนะครับ)

รายละเอียดในแผ่นสอน Motion Analysis คลิกที่นี่

แผ่นสอน SolidWorks Simulation อื่นๆ คลิกที่นี่

ขั้นตอนการสั่งซื้อ  คลิกที่นี่

สอบถามรายละเอียดเพื่มเติมได้ที่
คุณพลวัฒน์ (บอล)  รับวิเคราะห์  ให้คำปรึกษา  และสอนโปรแกรม SolidWorks Simulation
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : SolidWorks Simulation Adviser