วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เทคนิคเพิ่มความเร็วในการวิเคราะห์ผลลัพธ์

หลายๆคนอาจจะคิดว่า  ถ้าต้องการวิเคราะห์ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดก็จะต้องวาดชิ้นงานให้เหมือนจริงที่สุด  หรืองานของเรามีชิ้นส่วนอะไรมาประกอบกันก็ใส่เข้ามาทั้งหมด  ซึ่งก็ต้องบอกว่าเป็นความจริง  แต่มันคุ้มค่ารึเปล่าที่เราจะต้องใช้เวลาไปกับการเก็บรายละเอียดชิ้นงาน, การกำหนดค่าใน Simulation (ยิ่งชิ้นงานมาก  ยิ่งต้องกำหนดเยอะ), การสร้าง Mesh ที่ยากขึ้นเพราะรายละเอียดและจำนวนชิ้นงาน (Mesh ขนาดใหญ่เกินไปก็จะสร้าง Mesh ไม่ได้  แต่ถ้าเล็กมากๆ Ram ของคอมพิวเตอร์ก็ไม่พออีก)  และที่สำคัญที่สุดคือการแก้ไข Error ต่างๆที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเรากำหนดค่าผิดพลาด  ซึ่งเราสามารถลดปัญหาและเวลาในการทำงานลงได้ด้วยเทคนิคต่างๆดังนี้

1. ลดรายละเอียดของชิ้นงานที่ไม่สำคัญ
รายละเอียด เช่น Fillet สำหรับลบมุม, ตราปั๊ม, ตัวอักษรนูน, รูเจาะเล็กๆที่ไม่สำคัญ ฯลฯ ที่ไม่ได้มีผลกับความแข็งแรงของชิ้นงาน  เราสามารถลบรายละเอียดบริเวณนี้ออกไปได้  เพื่อให้การสร้าง Mesh ง่ายขึ้น (ใช้ Mesh ก้อนใหญ่ขึ้นได้  ก็ทำให้ใช้เวลาคำนวณน้อยลง)

2. เลือกประเภท Mesh ให้เหมาะกับชิ้นงาน

ชิ้นงานที่มีความบางมากๆ ควรใช้ Shell Mesh หรือชิ้นงานที่เป็นเหล็กรูปพรรณสามารถใช้ Beam Mesh ได้  ซึ่งจะช่วยให้จำนวน Mesh ที่ต้องใช้ลดลงไปได้มาก (อ่านรายละเอียดเรื่อง Mesh ได้ที่บทความ Mesh นั้นสำคัญไฉน)

3. การใช้ฟังชั่นต่างๆใน Connection เช่น Pin, Bolt, Spring, Virtual Wall ฯลฯ แทนการเขียนชิ้นงานจริง

ยิ่งจำนวนชิ้นงานที่วิเคราะห์มาก  ก็ยิ่งต้องใช้ Mesh มาก  ดังนั้นฟังชั่นต่างๆสามารถลดจำนวนชิ้นงานที่ต้องวิเคราะห์ได้  นอกจากนี้การใช้ฟังชั่นยังส่วนให้เราทราบขนาดของแรงที่ชิ้นงานพวกนี้ได้รับ เช่น การใช้ Pin/Bolt จะทำให้ทราบแรงในแนว Beading, Shear, Moment, Torsion ที่เกิดบน Pin/Bolt แต่ละตัว  ซึ่งเราสามารถนำค่านี้ไปเลือกขนาดของ Pin/Bolt ต่อได้

4. ใช้ Contact แบบ Bond หรือ Allow penetration แทน No penetration

ถึงแม้ว่างานประกอบของเราอาจจะไม่ได้เชื่อมหรือทากาวยึดติดกันจริงๆ  แต่ถ้าเราคาดการณ์ได้ว่าขณะที่ชิ้นงานได้รับแรงกระทำ  ผิวตรงบริเวณที่ชิ้นงานประกอบกับไม่ได้แยกจากกัน เช่น วิเคราะห์การรับน้ำหนักบริเวณขาตั้ง  เมื่อน้ำหนักกดลงมาแสดงว่าผิวยิ่งประกบติดกัน (ไม่ได้แยกจากกัน  เพราะถ้าจะแยกจากกันได้ควรจะโดนแรงดึงมากกว่า)  ดังนั้นเราสามารถสมมติว่าผิวบริเวณนั้นเชื่อมติดกันไปเลยเพื่อให้การคำนวณใช้เวลาน้อยลง  (อ่านรายละเอียดเรื่อง Contact ได้ที่บทความ ชนิดของ Contact สำหรับวิเคราะห์งาน Assembly)

5. ทำ Symmetry ในชิ้นงานที่สมมาตรกัน

งานที่มีรูปร่าง, ภาระกรรม, และการจับยึด มีความสมมาตรกัน  อาจจะเป็นการสมมาตรแบบ 1/2, 1/4, หรือสมมาตรตามแนวเส้นรอบวง (Cyclic Symmetry) เราสามารถตัดชิ้นงานให้เล็กลงแล้วใช้คำสั่ง Symmetry เพื่อลดขนาดชิ้นงานที่ต้องการวิเคราะห์ได้  นอกจากนี้ใน SolidWorks Simulation Version 2014 ขึ้นไปยังสามารถแสดงผลลัพธ์แบบสมมาตรได้ด้วย  ทำให้ถึงแม้เราจะวิเคราะห์งานแค่ 1/2 หรือ 1/4 แต่สามารถแสดงภาพชิ้นงานเต็มได้อยู่ (อ่านรายละเอียดเรื่อง Symmetry ได้ที่บทความ เพิ่มความเร็วในการวิเคราะห์ด้วยคำสั่ง Symmety)

ทางผู้เขียนหวังว่าผู้อ่านจะได้ลองเอาเทคนิคต่างๆไปปรับใช้กันดู  จะได้ไม่ต้องเสียเวลามาก  รวมถึงไม่ต้องใช้ Spec Computer ที่สูงเวอร์เกินความจำเป็นนะครับ

หากต้องการศึกษาวิธีการใช้งาน SolidWorks Simulation และเทคนิคต่างๆ ที่กล่าวถึงในบทความนี้ สามารถสั่งซื้อ แผ่นสอน Simulation Linear Static ไปศึกษาด้วยตัวเอง  หรือติดต่อขอเรียนเป็นงานเฉพาะเรื่องก็ได้เช่นกัน

สอบถามรายละเอียดเพื่มเติมได้ที่
คุณพลวัฒน์ (บอล)
Tel. 087-489-7265
Line ID : ballastro
E-mail : sim.adviser@gmail.com
FB : SolidWorks Simulation Adviser

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น